วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการและการเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย (2)

ตอนที่แล้วได้พูดถึงกาพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย 1-2 ขวบไปแล้ว ฉบับนี้มาดูเรื่องของเด็กปฐมวัยช่วง 3-4 ขวบกันต่อเลยค่ะ
พัฒนาการของเด็กอายุ 3-4 ขวบ
ด้านร่างกาย
เด็กผู้ชาย ส่วนสูง 96-114 ซม./ น้ำหนัก 13.5-20.5 ก.ก.
เด็กผู้หญิง ส่วนสูง 94-114 ซม./ น้ำหนัก 13-20 ก.ก.
การพูด
ก่อนหน้านี้เด็กจะใช้ความรู้สึกในการแลกเปลี่ยนหรือเรียกร้องสิ่งที่ตนต้องการ แต่ต่อไปนี้ เขาจะต้องหันมาใช้ภาษากับคนอื่นๆ แทน เด็กในวัยนี้จะเข้าใจว่า คนในโลกส่วนใหญ่ใช้คำพูด เป็นเครื่องสื่อความหมาย โดยไม่ใช้การออกท่าออกทาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาการ ในทางภาษาสำหรับเด็ก
ในช่วงนี้ เด็กจะเริ่มรู้จักคำเช่น "แหลม หรือคม" หรือ "ร้อน" แต่การพูดยังขาดการเน้นเสียง และยังปะปนในเรื่องภาษากับประสบการณ์ที่ตนได้รับ
หรืออย่างการเข้าใจความหมายของคำว่า ข้างบน-ข้างล่าง, ข้างหน้า-ข้างหลัง, นำหน้า-ตามหลัง, ข้างหน้านั้น-ข้างหลังนั้น เพราะเด็กได้เรียนรู้มาจากการคลาน การโยนสิ่งของออกไป การมองกลับมาข้างหลัง การเดินไปข้างหน้า หรือการเล่นซ่อนหา โดยไม่ได้ใช้ความรู้สึก แต่เป็นการใช้ร่างกาย
เข้าใจสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกัน เช่น การกางมือกางแขนออกทำเป็นยักษ์ตัวใหญ่ หรือทำตัวหดเล็ก เหมือนหนูตัวเล็กๆ รู้จักปิดประตูเสียงดังหรือปิดอย่างแผ่วเบา เด็กจะรู้จักการเรียกชื่อและนามสกุลของตัวเอง เพราะถึงเวลาแล้วที่จะต้องรู้จักตัวเองให้ถ่องแท้
รู้จักคำพูดแสดงพหูพจน์ เพราะเด็กมีประสบการณ์กับของที่มีปริมาณมากขึ้น เช่น แท่งไม้หลายอัน แท่งไม้สองสามอัน ในช่วงนี้เด็กจะรู้จักการปฏิบัติตามอย่าง เช่น การหมุนประตู เราต้องจับที่ลูกบิดประตู แล้วหมุนเป็นวงกลมแล้วปิด-เปิดประตูได้
รู้จักการเรียบเรียงประโยค และมีความแตกฉานทางภาษามากขึ้น โดยที่เด็กจะเลียนแบบ การใช้ภาษาจากผู้เป็นพ่อเป็นแม่ โดยที่เด็กจะเลียนแบบการใช้ภาษาจากผู้เป็นพ่อเป็นแม่ หากพ่อแม่ใช้ภาษาที่ถูกต้องไพเราะ ลูกก็จะพูดได้ดีเช่นเดียวกัน แต่ถ้าพูดจาสบถสาบาน ด่าพ่อล่อแม่จนติดปาก เขาก็จะจดจำไปใช้ ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า พ่อแม่จะต้องพูดภาษาที่สมบูรณ์แบบ เหมือนภาษาเขียนเป๊ะ แต่ควรจะใช้สรรพนาม กริยา คุณศัพท์ ฯลฯ ให้ถูกต้อง เพื่อลูกจะได้คุ้นและเข้าใจง่าย
อย่างไรก็ตาม บางครั้งเด็กเล็กๆ ที่กำลังย่างเข้าสู่พัฒนาการด้านภาษา โดยเฉพาะเด็กวัย 2 ขวบครึ่ง ถึง 4 ขวบ อาจจะพูดไม่ค่อยออกและมักจะเงียบ ซึ่งอาจเป็นเพราะความคิดของเด็กเร็วกว่าความสามารถ ในการใช้คำศัพท์ แต่พ่อแม่ไม่ควรวิตกกังวลมากจนเกินเหตุ อาการเช่นนี้จะหายไป เมื่อสมองส่วนที่ใช้บังคับการพูดเติบโตและพัฒนาเต็มที่ คุณพ่อคุณแม่อย่าพยายามเร่งรัดอาการเงียบของลูก เพราะอาจทำให้เด็กกลายเป็นคนเงียบตลอดไปก็ได้
การอ่าน
เด็ก 3-4 ขวบ พร้อมแล้วที่จะเรียนการอ่าน โดยจะแสดงสัญญาณของความพร้อมนี้ออกมา ให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น เขาจะรักหนังสือ ดีใจที่ได้หยิบจับและดูรูปในหนังสือ เขาจะถามถึงความหมาย ของสัญลักษณ์ สลาก หรือป้ายต่างๆ เขาอยากจะเขียนชื่อตัวเอง สนใจรูปภาพ และมีคำพูดแปลกๆ ใหม่มากเกินกว่าที่จะจดจำได้
ความชอบหนังสือนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้จะได้รับการกระตุ้นเพียงน้อยก็ตาม ถ้าเป็นไปได้พ่อแม่ควรสอนให้ลูกอ่านหนังสือ หรืออ่านให้ฟังอย่างสม่ำเสมอ เพราะการสอนให้ลูกอ่านหนังสือก่อนนอน จะช่วยให้เขาได้พักผ่อนและอยากเข้านอนด้วยความสุข และยังเป็นการสร้างนิสัยการคุยกันอย่างสันติ ซึ่งจะหาโอกาสอย่างนี้ได้ยากมากหากลูกพ้นวัยนี้ไปแล้ว
นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกซื้อหนังสือของตนเองเมื่อมีโอกาส แม้จะเป็นหนังสือเล่มเล็กๆ บางๆ ที่มีขายตามซูเปอร์มาเก็ตก็ตาม
พัฒนาการทางสังคม
เด็กในวัยนี้จำนวนมากที่โตพอที่จะเข้าโรงเรียนได้แล้ว ซึ่งเด็กจะรู้จักการแยกจากพ่อแม่ เพราะถึงเวลาที่เขาควรมีบุคลิกภาพเป็นของตัวเองเพราะเขาโตพอจะรับทราบกฎเกณฑ์ในหมู่คณะ และสามารถปฏิบัติตามกฎเกณฑ์นั้นๆ ได้ เช่น กลุ่มเพื่อนที่เล่นด้วยกัน แสดงว่าเด็กเรียนรู้ ที่จะอยู่ร่วมกับคนอื่นๆ ได้
นอกจากนี้เด็กจะมีความผูกพันกับบุคคลอื่น เช่น ครูที่โรงเรียนอนุบาล หรือการติดต่อสัมพันธ์ กับเด็กคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกัน
เด็กจะรู้จักคำว่า "เรา" "ของเรา" และ "ของเธอ" "ของฉัน" และ "ของพวกเขา" เพราะเด็กเริ่มเรียนรู้ที่จะแยกคนอื่นๆ จากครอบครัวของตน
การเล่น
เด็กวัย 3-4 ขวบ นี้จะสนุกสนานกับการได้ฝึกการทรงตัว เช่น การวิ่งบนทางแคบๆ ทรงตัวบนท่อนไม้ หรือกำแพงเล็กๆ เตี้ยๆ และจะมีพัฒนาการทรงตัวในการเล่นได้ดีขึ้นเป็นลำดับ จนถึงขั้นที่สามารถหัดถีบจักรยานได้
ในการเล่น เด็กมักชอบเลียนแบบจากสิ่งที่อยู่แวดล้อมตัวเอง เช่น การหุงหาอาหารด้วยถ้วย จาน ทัพพี และส้อม เหมือนกับที่แม่ทำ หรือใช้ค้อนตอกสิ่งของ เช่นเดียวกับที่พ่อทำ เด็กจะสนุกสนานกับการเอาของที่พ่อแม่ใช้มาเป็นของเล่นของตัวเอง เช่น จะสนุกกับการเล่นโทรศัพท์จริงๆ มากกว่าโทรศัพท์ที่เป็นเพียงของเล่น
เมื่ออยู่ที่โรงเรียน เด็กๆ ก็ยังคงสนุกสนานกับการเล่น "เลียนแบบ" เช่น การปั้นดินน้ำมันให้เป็นขนมชิ้นเล็กชิ้นน้อย ด้วยมือทั้งสองข้างโดยใช้อุ้งมือด้วย ไม่ได้ใช้เฉพาะนิ้วเท่านั้น
เด็กยังคงฝึกฝนการต่อแท่งไม้รูปต่างๆ เป็นการฝึกสมดุล เช่น พยายามที่จะต่ออะไรขึ้นมาสักอย่าง โดยใช้สมดุลเข้าช่วย มากกว่าที่จะเล่นของที่เป็นชิ้นเป็นอันแต่ทั้งหมดที่เด็กสร้างขึ้นนั้น ก็ขึ้นกับผู้ใหญ่ที่จะให้คำชมเชยและความคิดที่ส่งเสริม
การฉีดวัคซีน
3 ขวบ ฉีดกระตุ้นไทฟอยด์
4-6 ขวบ ฉีดกระตุ้นคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก และกินป้องกันโปลิโอ (ครั้งที่ 5)
สัมพันธภาพระหว่างเด็กกับพ่อแม่
วัย 1-2 ขวบที่ผ่านมาเด็กจะให้ความสนใจตัวเองเป็นส่วนใหญ่ ครั้นถึงช่วง 3-4 ขวบนี้ เด็กจะหันกลับมาพิจารณาบทบาทของพ่อแม่มากขึ้น เช่น อาจถามคำถามแสดงความอยากรู้ว่า พ่อแม่รักตนมากเพียงใด และเด็กจะค้นพบคำที่มีความหมายแสดงถึงประสบการณ์ที่เด็กเคยได้รับ จากพ่อแม่มาก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม เด็กในวัยนี้บางคนอาจมีอารมณ์รุนแรง ฉุนเฉียว เมื่อไม่ได้ดั่งใจก็อาละวาด กระทืบเท้า ขว้างปาข้าวของ ลักษณะพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดของเด็ก โดยผ่านทางพฤติกรรมทั้งสิ้น
โดยทั่วไปผู้ใหญ่มักคิดว่าเด็กไม่มีปัญหาอะไรเพราะเขายังไม่รู้จักคิดและยังไม่เข้าใจอะไรเพียงพอ วันๆ ก็ไม่รับผิดชอบไม่รับรู้อะไร ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดไปจากความจริงอย่างมากทีเดียว
เด็กที่อยู่ในวัยกำลังพัฒนา เขาเรียนรู้และรับรู้อยู่ตลอดเวลา ฉะนั้น เขาจึงมีความรู้สึก และความคิดของเขาตามแบบเด็กๆ และสามารถรับรู้เข้ใจอะไรๆ ได้พอสมควรมากกว่าที่ผู้ใหญ่จะคาดคิด
เมื่อเด็กมีความไม่สบายใจ วิตกกังวล หรือมีความทุกข์เศร้า หรือแม้กระทั่งตื่นเต้นดีใจก็ตาม เด็กจะแสดงออกทางความรู้สึกนึกคิดโดยผ่านทางพฤติกรรมเสมอเพราะเขายังไม่สามารถ ถ่ายทอดความรู้สึกนั้นโดยการบรรยายเป็นคำพูดได้ ฉะนั้น เมื่อเด็กรู้สึกว่าตนกำลังจะสูญเสียความรัก เช่น การมีน้องใหม่ หรือรู้สึกกังวลว่าตัวกำลังจะถูกทอดทิ้ง หรือเมื่อเด็กมีความกลัวว่าจะมีอันตราย เกิดขึ้นกับเขา เช่น การเจ็บป่วย การอยู่โรงพยาบาล หรือเมื่อผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดมีความไม่สบายใจ
จากสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา เราจะเห็นเด็กมีพฤติกรรมที่ซนมากขึ้น งอแงติดแม่ รบกวนเรียกร้องต่างๆ ดื้อขึ้น แสดงอารมณ์หงุดหงิดร้องไห้บ่อย หรือเรียกร้องความสนใจด้วยวิธีต่างๆ ฉะนั้น ถ้าพ่อแม่หรือผู้ใหญ่เอาใจใส่เด็ก และสังเกตพฤติกรรมของเด็กแล้ว จะสามารถเข้าใจอารมณ์ จิตใจและความรู้สึกนึกคิดของเด็กโดยไม่ยาก และจะสามารถช่วยเหลือเด็กได้เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น
ที่สำคัญ พ่อแม่จะต้องเข้าใจด้วยว่า โดยธรรมชาติเด็กเล็กมีลักษณะของการนึกถึงตนเองเป็นใหญ่ ยังมีความอดทน รอคอย และการยับยั้งชั่งใจน้อย และยังมีความเข้าใจต่างๆ ไม่เพียงพอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะลดน้อยลง เมื่อเด็กเข้าใจความหมายต่างๆ ได้ดีขึ้น และสามารถใช้คำพูด เป็นเครื่องแสดงออกของความปรารถนา หรือระบายความรู้สึกของตน

การเล่นเพื่อการพัฒนาเด็ก

วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการการพูดของเด็ก

คุณแม่เคยสงสัยมั้ยคะว่า การพูดเป็นการสื่อสารที่สำคัญ วิธีหนึ่งของมนุษย์ ซึ่งมีขั้นตอนของการพัฒนาการที่แน่นอน
จากการส่งเสียงฮือฮา อ้อแอ้ของทารกมาเป็นคำเดียว ที่มีความหมายในวัย 1-2 ปี จนกระทั่งสามารถเปล่งเสียงออกมา เป็นคำพูดที่ต่อเนื่องกันเป็นประโยค เพื่อสื่อความหมาย และเล่าเรื่องได้ในเด็กอายุ 3-4 ปี
จริงๆ แล้วมนุษย์เราสามารถสื่อสารกันด้วยท่าทาง การแสดงออกของสีหน้า และการเปล่งเสียง แต่จะเห็นว่า การแสดงความต้องการหรือพยายามสื่อความหมายผ่านทางท่าทางและสีหน้า จะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากในขณะที่การเปล่งเสียงเพื่อสื่อความหมายนั้น มีการเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการค่อนข้างมาก โดยเฉพาะช่วง 4 ปีแรก ของชีวิต
พัฒนาการของภาษาเพื่อใช้ในการสื่อสารที่สำคัญคือ
  1. การรับรู้และเข้าใจภาษา
  2. การแสดงออกและการพูด (ดังตาราง)
การพัฒนาของภาษาพูด ทั้งด้านการรับรู้และการแสดงออก จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัย
  1. ระบบการได้ยินที่ปกติ
  2. ระบบการแปลข้อมูลในสมองที่ปกติ
  3. ระบบการออกเสียงที่ปกติ
  4. สิ่งเร้าจากภายนอกที่เหมาะสม ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เด็ก ต้องการพูดเป็นการสื่อสาร
เมื่อมีคำพูดจากบุคคลหนึ่งไปยังเด็กทารก คลื่นเสียงจากผู้พูด จะผ่านทางหูเด็กไปยังสมองแล้วเกิดการแปลงข้อมูล พร้อมกับการสั่งให้ร่างกายของเด็กทารกนั้นแสดงปฏิกิริยาตอบโต้ได้
การตอบโต้เป็นเสียงหรือคำพูดนั้น ต้องอาศัยการประสานงาน ระหว่างกล้ามเนื้อ กระดูกและกระดูกอ่อน ที่จะช่วยให้เกิดลมพุ่งจากปอด ผ่านหลอดลม และช่วยบังคับกระแสลมผ่ายสายเสียงไปยังลำคอ เพดาน ฟัน ขากรรไกร และริมฝีปาก
การประสานงานของส่วนต่างๆ ในการเปล่งเสียงนี้ ต้องอาศัยเวลาในการช่วยให้เกิดการทำงานที่เหมาะสมและสอดคล้องกัน เด็กเองจะต้องเรียนรู้และรู้จักสังเกตเวลาโต้ตอบกับผู้อื่น จนกระทั่งสามารถใช้การพูดเป็นการสื่อความหมายกับผู้อื่นได้
ตารางแสดงพัฒนาการของภาษาและการพูดในเด็กปกติ

อายุ พัฒนาการด้านการรับรู้ พัฒนาการด้านการแสดงออก
และการพูด
แรกเกิด-1 เดือนได้ยินเสียงดัง, ได้ยินเสียงพูดอาจหันเวลาตื่นเต็มที่ สะดุ้ง ผวา กะพริบตา หรือ
หยุดฟังเริ่มทำเสียงในคอ
2 เดือนสนใจเวลามีคนใกล้และพูดคุยสบตา ยิ้ม ส่งเสียงอ้อแอ้
3-4 เดือนหันหาเสียงพูด (ข้างๆ) ส่งเสียงโต้ตอบ ทำเสียง "อาอือ"
หัวเราะเสียงดัง
6-9 เดือนหันหาเสียงกระดิ่งข้างๆ บนและล่างเล่นเสียงสูงๆ ต่ำๆ
เริ่มมีเสียงพยัญชนะ
10-12 เดือนทำตามคำสั่งง่าย ๆ
โดยท่าทางประกอบคำสั่ง (One Step Command Without Gesture)
เปล่งเสียงซ้ำๆ เลียนเสียงพูด
พูดอย่างมีความหมาย 1 คำ
12-15 เดือน- พูดคำโดยที่มีความหมาย 3-6 คำ
พูดเลียนคำท้าย
15-18 เดือนทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ 1 ขั้น
(One Step Command Without Gesture)
พูดคำที่มีความหมายทีละ 1-2
คำติดกัน ชี้อวัยวะร่างกายตามบอกได้
2 ปี เข้าใจ "บน ล่าง ข้าง ๆ "พูดเป็นวลี 2-3 คำ พูดอาจไม่ชัด
และตะกุกตะกัก แต่คนในครอบครัว
ฟังเข้าใจประมาณครึ่งหนึ่ง
3 ปี รู้จักเพศของตนเองพูดเป็นประโยค 3-4 คำได้
มักใช้เฉพาะคำสำคัญที่เป็นเนื้อหา
เช่น คำนาม กริยา บางคำอาจไม่ชัด
แต่คนทั่วไปจะฟังเข้าใจประมาณ
ครึ่งหนึ่ง
4 ปี เข้าใจคำวิเศษณ์ เช่น ร้อน เย็น ใหญ่ เล็ก รู้จักสี 4 สีพูดเรียงลำดับในประโยคได้ถูก
เล่าเรื่องให้คนทั่วไปฟังเข้าใจได้
คำพูดส่วนใหญ่จะชัดเจน และมีจังหวะปกติ ยกเว้นบางพยัญชนะ
เช่น ส, ร, ล, ช
5 ปี เข้าใจความหมายของศัพท์ คำตรงข้าม
และคำเหมือน
ใช้ไวยากรณ์ได้ถูกต้อง
อธิบายความหมายได้
พูดชัดเกือบทั้งหมด จังหวะปกติ
8 ปี เข้าใจก่อน-หลังได้ดี สามารถพูดเป็นประโยค เรียบเรียงได้
เช่นเดียวกับผู้ใหญ่

เด็กปกติเรียนรู้ภาษาและการพูดได้อย่างไร
เด็กปกติจะมีพัฒนาการด้านภาษาและการพูดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่แรกเกิดจนกระทั่งสามารถใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป
การที่เด็กเล็กคนหนึ่งจะพัฒนาภาษาและการพูดขึ้นมาได้นั้น จะต้องเกิดจากการที่เด็กมีการติดต่อกับบุคคลที่อยู่แวดล้อมเช่น แม่ พ่อ พี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยในระยะแรก เด็กจะใช้การร้องไห้เพื่อบอกความต้องการของตนเอง เช่น ร้องไห้เมื่อหิวหรือไม่สบาย
ต่อมาเด็กจะเริ่มเล่นเสียงและเลียนเสียงต่างๆ ที่อยู่รอบตัว ในช่วงนี้ถ้าเด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่อยู่รอบข้าง เช่น แม่มักจะอุ้มขึ้นมาเล่นและพูดคุยด้วย เมื่อได้ยินเสียงของเด็ก ก็จะเริ่มสร้างระบบของภาษาและการพูดของตนเอง โดยอาศัยแบบอย่างจากผู้ใหญ่ที่พูดคุยด้วย
เมื่อเด็กทดลองใช้ภาษาที่ตนเองสร้างขึ้นมา และได้รับแรงเสริมจากผู้ใหญ่ เด็กก็จะออกเสียงนั้นมากขึ้น จนกระทั่งสามารถเปล่งเสียงเรียกสิ่งของหรือคนที่อยู่รอบข้างเขา ได้อย่างถูกต้อง เช่น เมื่อเด็กเห็นแม่เดินมาเป็นจังหวะเดียวกับ ที่เด็กเปล่งเสียงคำว่า "ม่ะ" ออกมา ก็จะเข้ามาอุ้มชูและพูดเล่นด้วย
การที่เด็กได้รับแรงเสริมในลักษณะนี้นี่เอง จะทำให้เด็ก ค่อยๆ เรียนรู้เวลาที่เขาหิว เจ็บป่วยหรือต้องการการอุ้มชู ถ้าเขาเปิดปาก ทำเสียงเช่นนี้ บุคคลผู้นี้ก็จะเข้ามาช่วยเหลือเขา เมื่อทำบ่อยครั้งเข้า ในที่สุดเด็กจะสามารถเชื่อมโยงคำว่า "ม่ะ" "แม่" กับตัวคุณแม่ได้ กระบวนการการเรียนรู้คำศัพท์ของเด็กจะเกิดขึ้นในลักษณะนี้ และปริมาณของคำศัพท์ที่เด็กเรียนรู้และพูดได้ก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 1 คำ เมื่อเด็กอายุประมาณ 10-12 เดือน จนถึงสองพันกว่าคำ เมื่อเด็กอายุ 7 ปี
โดยในระยะแรก เด็กจะเริ่มพูดเป็นคำๆ ก่อนเมื่ออายุ 1-2 ปี และเริ่มพูดเป็นประโยคสั้นๆ ได้เมื่ออายุ 3 ปี พออายุ 4 ขึ้นไป เด็กก็จะสามารถใช้ประโยคเล่าเรื่องต่างๆ ที่เขาพบเห็นให้คุณพ่อคุณแม่ฟังได้ และสามารถใช้ภาษาได้ใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ พูดคุยโต้ตอบกับคุณพ่อคุณแม่ ได้อย่างเหมาะสมเป็นเรื่องเป็นราวเมื่ออายุ 7 ปีขึ้นไป
ลองสังเกตดูนะคะว่าลูกของคุณมีพัฒนาการการพูด เป็นไปตามวัยหรือไม่ถ้าเป็นไปตามนี้ คุณแม่ก็โล่งอกหายห่วงได้ค่ะ แต่ก็มีไม่น้อยที่เด็กไม่สามารถมีพัฒนาการที่ดีอย่างที่ควรจะเป็นได้
ปัญหาเรื่องของเด็กพูดช้า เป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจของคุณแม่ แต่ก็ไม่ใช่ว่าหนักหนาสาหัสเกินจะเยียวยาแก้ไขนะคะ คุณแม่ต้องใจเย็นๆ แล้งลองอ่านเรื่องราวต่อไปนี้ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ
เด็กพูดช้า
เด็กพูดช้าคืออะไร
เด็กพูดช้า คือเด็กที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการพูด ไม่เป็นไปตามอายุ เช่น อายุ 2 ปี ยังพูดเป็นคำเดียว ที่มีความหมายไม่ได้ หรืออายุ 3 ปีแล้วยังพูดเป็นประโยคสั้นๆ ไม่ได้
สาเหตุที่ทำให้เด็กพูดช้า
อาจมีที่มาจากความสัมพันธ์ระหว่าง
  1. สิ่งเร้า คือ การพูดจาจากคนรอบข้างและการเปิดโอกาส ให้เด็กโต้ตอบ
  2. ความสามารถของสมองในการแปลงคลื่นเสียงที่ได้ยินเป็นข้อมูล และความสามารถในการเข้าใจข้อมูลพร้อมกับสั่งงาน ให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการพูดทำงาน
  3. ความสามารถของอวัยวะที่เกี่ยวกับการเปล่งเสียงเป็นคำพูด ที่ทำงานสอดคล้องกัน และสนองคำสั่งจากสมองได้ดี
ดังนั้น หากเกิดความผิดปกติของขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง หรือหลายขั้นตอนย่อมส่งผลถึงการพูด
สาเหตุของการพูดช้าที่สำคัญคือ
1. ขาดการกระตุ้นทางภาษาที่เหมาะสม เช่น ผู้เลี้ยงดูเด็กไม่ค่อยพูดกับเด็ก ทำให้เด็กขาดทักษะในการเรียนรู้ เรื่องการพูด หรือไม่เปิดโอกาสให้เด็กพูด เช่น เด็กอยากได้อะไร แค่ชี้พี่เลี้ยงก็หยิบให้ โดยเด็กไม่ต้องพยายามออกเสียง เรียกสิ่งที่ต้องการเป็นต้น
2. หูตึง หูหนวก ซึ่งอาจเกิดจาก
  • ภาวะการตั้งครรภ์ผิดปกติส่งผลถึงการได้ยิน เช่น แม่เป็นโรคหัดเยอรมันขณะตั้งครรภ์
  • โรคที่เกิดขึ้นหลังเด็กคลอด เช่น เป็นหูน้ำหนวกบ่อยๆ เป็นโรคสมองอักเสบ
  • เกิดจากการได้รับสารพิษหรือยาบางตัว ซึ่งทำให้ระบบการได้ยินผิดปกติ เช่น ได้รับยาสเตรปโตมัยซิน (Streptomycin)
3. สมองพิการ เช่น ความผิดปกติ ในระบบการสั่งงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการพูด และความผิดปกติในส่วนการรับรู เป็นต้น
4. ภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งเกิดจากโรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการดาวน์ (Down Syndrome) หรือเกิดจากภาวะการคลอด เช่น ขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในขณะคลอด หรือเกิดจาก ภาวะโรคติดเชื้อในสมองหรือได้รับสารพิษ เป็นต้น
5. ภาวะโรคจิต โรคประสาท เช่น เด็กมีความเครียด กังวล ซึ่งอาจเกิดจากสภาพการเลี้ยงดูในครอบครัว ทำให้ขลาดไม่กล้าพูด
6. ภาวะออทิสติก ซึ่งเด็กจะมีสมาธิสั้น พูดช้าหรือไม่พูด หรือพูดสื่อสารอย่างมีความหมายไม่ได้ ร่วมกับไม่สามารถ สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้
7. ความผิดปกติของอวัยวะเกี่ยวกับการออกเสียง เช่น มีพังผืดยึดติดลิ้น (Tonguetic)
ความสามารถในการพูดที่ช้ากว่าวัยซึ่งถือว่าผิดปกติ จะสังเกตได้ดังนี้

อายุ การพูด
6 เดือนไม่หันหาเสียงจากด้านหลังหรือด้านข้าง
10 เดือนยังไม่มีการเล่นเสียงโต้ตอบ (Vocal Play)
หรือไม่เปล่งเสียงร้องตอบรับ
1 ปี พูดได้แต่เสียงสระไม่มีเสียงพยัญชนะ
1 ปี 3 เดือนไม่เข้าใจความหมายของคำว่า "บ๊าย บาย" ,
"ไม่", "ขวดนม"
1 ปี 6 เดือนพูดคำโดดได้น้อยกว่า 10 คำ
1 ปี 9 เดือนทำตามคำสั่งที่เกี่ยวกับทิศทางไม่ได้
2 ปี ยังพูดเป็นประโยคสั้น ๆ ไม่ได้
หรือชี้บอกส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ได้
2 ปี 6 เดือนยังไม่สามารถพูดให้คนในครอบครัวฟังเข้าใจได้
3 ปี ยังพูดไม่เป็นประโยค
หรือยังไม่สามารถตั้งคำถามง่ายๆ ได้
หรือยังไม่สามารถพูดให้บุคคลอื่นเข้าใจได้
4 ปี ยังพูดเล่าเรื่องไม่ได้ ยังใช้คำถาม "ทำไม" ไม่ได้
6 ปี พูดออกมาแล้ว คนฟังเข้าใจไม่ถึง 80%
ของเรื่องพูด
ขั้นตอนในการช่วยเหลือเด็กพูดช้า
เมื่อพบว่าลูกพูดช้า คุณพ่อคุณแม่ควรพาเด็กไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุของการพูดช้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ในการวางแผนการช่วยเหลือให้เหมาะกับเด็กแต่ละราย
การวินิจฉัยสาเหตุการพูดช้านั้นจะประกอบด้วย
  • การซักประวัติและการตรวจร่างกายเด็กอย่างละเอียดจากแพทย์
  • การตรวจประเมินพัฒนาการและเชาวน์ปัญญา โดยนักจิตวิทยาคลินิกหรือกุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการพัฒนาการ
  • การตรวจความสามารถในการได้ยินในกรณีที่สงสัยว่า มีปัญหาหูพิการด้วย
หลังจากได้ข้อสรุปสาเหตุของการพูดช้าแล้ว จะเป็นการรักษาตามสาเหตุพร้อมกับพบผู้เชี่ยวชาญ ที่แพทย์แนะนำ
เช่นกรณีที่พบว่าเด็กพูดช้าจากหูพิการ เด็กจะต้องใส่เครื่องช่วยฟัง (Hearing aid) ก่อนแล้วจึงจะฝึกพูด เมื่อมารับการฝึกพูด นักแก้ไขการพูดจะใช้เทคนิคต่างๆ ในการกระตุ้นให้เด็กเปล่งเสียง เลียนแบบเลียงและเชื่อมโยงเสียงให้เป็นคำที่มีความหมาย โดยยึดหลักการเรียนรู้และพัฒนาการทางการพูดของเด็กปกติเป็นแนวทาง
การกระตุ้นด้านการพูดจำเป็นต้องเริ่มโดยเร็วที่สุด หลังจากที่วินิจฉัยได้แล้วว่าเด็กพูดช้าจากสาเหตุใด เพราะยิ่งเริ่มต้นได้เร็วเท่าไรก็จะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยเหลือ ด้านภาษาและการพูดของเด็กได้มากเท่านั้น
นอกจากจะสอนให้เด็กเปล่งเสียงต่างๆ แล้ว นักแก้ไขการพูดจะสอนให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ที่ต้องใช้พูด ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กได้เรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ ตามความเหมาะสม กับระดับอายุของเด็ก
จากนั้นจึงสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะนำคำเหล่านั้น มาสร้างเป็นประโยคที่ถูกต้อง เรียนรู้ที่จะเรียงลำดับประโยคต่างๆ เพื่อเล่าเรื่องต่อเนื่องกันตั้งแต่ต้นจนจบ เพื่อให้เด็กได้ใช้การพูดของตน ในการสื่อสารกับบุคคลอื่นในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง
ถ้าเด็กพูดช้าจากปัญหาการได้ยิน แนวทางปฏิบัติของพ่อแม่และผู้ดูแลเด็กคือ
  1. เวลาพูดกับเด็กควรย่อเข่าหรือนั่งลง ให้เด็กได้สังเกตหน้า และปากของเราเวลาที่พูดคุยกับเขา
  2. หันหน้าเข้าหาเด็ก ให้เด็กมองหน้าเรา และพูดด้วยน้ำเสียงปกติชัดถ้อยชัดคำ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป และไม่พูดช้าหรือเร็วจนเกินไป
  3. ควรฝึกให้เด็กใส่เครื่องช่วยฟังให้ได้มากที่สุด (อย่างน้อยวันละ 6 ชม.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ควรใส่ และเปิดให้เครื่องช่วยฟังทำงานในเวลาที่เราสอนและพูดคุยกับเขา
  4. กระตุ้นให้เด็กสนใจฟังเสียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเด็ก เช่น เสียงกริ่งโทรศัพท์ เสียงแตรรถ โดยชี้ชวนบอก และแสดงท่าทางอธิบายให้เด็กเข้าใจด้วยทุกครั้งที่มีเสียงเหล่านี้
  5. ฝึกให้เด็กสนใจฟังเสียงพูดของเรา โดยใช้กิจวัตรประจำวันต่างๆ ในการฝึก เช่น ฝึกให้เด็กยกมือขึ้นทุกครั้งที่เราเรียกชื่อ ฝึกให้เด็กฟังและทำตามคำสั่งง่ายๆ เช่น สวัสดี นั่งลง บ๊ายบาย โดยในระยะแรกต้องเสนอโดยพูดพร้อมกับจับตัวเด็ก ให้ทำตามคำสั่งได้ด้วยตัวเองทุกครั้งที่เราสั่ง
  6. ทุกครั้งที่สอนคำศัพท์ให้กับเด็กจะต้องกระตุ้น ให้เด็กมองปากเราเสมอและต้องอดทนสอนซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง จนเด็กเข้าใจและเรียกได้ด้วยตนเอง
  7. ในการสอนคำศัพท์ต่างๆ สิ่งของจริงจะช่วยในการสอนได้มากที่สุด ถ้าหาของจริงไม่ได้อาจใช้หุ่นจำลองหรือภาพวาดแทน
  8. เด็กที่มีปัญหาการได้ยินจะพูดไม่ชัด ในระยะแรกของการสอนภาษา ผู้สอนต้องอดทน หมั่นสอนซ้ำๆ แต่ต้องไม่เน้นเรื่องพูดไม่ชัด ควรสอนให้เด็กเข้าใจและใช้คำศัพท์ต่างๆ ให้ได้เหมาะสม กับระดับอายุเสียก่อน จึงค่อยแก้ไขเรื่องเสียงที่ไม่ชัดต่อไป
  9. ควรให้กำลังใจเด็กทุกครั้งที่เด็กทำตามที่เราสอนได้อย่างถูกต้อง เช่น ยิ้ม พยักหน้า ชูนิ้วหัวแม่มือ ปรบมือ พูดชมว่าเก่ง ดี หรือให้ขนมเป็นรางวัล
  10. การสอนภาษาและการพูดกับเด็ก ไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะเรียน และสอนครั้งละนานๆ เพราะเด็กจะเบื่อละยิ่งไม่อยากพูด ควรสอนช่วงสั้นๆ แทรกไปในกิจวัตรประจำวันต่างๆ ที่เด็กทำ แต่สอนให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะทำได้ ยิ่งสอนบ่อยมากเท่าใด โอกาสที่เด็กจะพูดได้เร็ว ก็เกิดขึ้นมากเท่านั้น
การฝึกพูดช้าจากภาวะปัญญาอ่อน
ภาวะนี้มีสติปัญญาช้ากว่าปกติและมักจะมีพัฒนาการด้านอื่นๆ ซึ่งไม่เฉพาะด้านสติปัญญา การพูดช้าเท่านั้นแต่จะมีภาวะด้านร่างกาย การใช้กล้ามเนื้อ ตา มือประสานกันจะช้า รวมถึงการช่วยเหลือตัวเอง ก็จะช้ากว่าปกติ
ถ้าเด็กเหล่านี้ไม่ได้รับการช่วยเหลือฝึกกันอย่างแท้จริง ภาวะปัญญาอ่อนจะไม่เจริญเท่าที่ควร แย่ลง จนที่สุดก็เป็นภาระ ของคนรอบข้างด้วย เด็กปัญญาอ่อนเราสามารถช่วยได้ แต่ไม่ได้หมายความถึงว่า จะดีปกติเหมือนเด็กทั่วๆ ไป แต่จะดีขึ้นเป็นลำดับ และเด็กสามารถเรียนรู้ได้ ในระดับความสามารถที่เขามีอยู่
การจะรู้ว่าเด็กคนไหนมีภาวะปัญญาอ่อน เราคงต้องรู้ด้วยว่า เด็กปกติเป็นอย่างไร โดยต้องนำมาเปรียบเทียบกัน
เด็กคนหนึ่งๆ จะมีพัฒนาการโดยส่วนรวม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
  • กล้ามเนื้อ : กล้ามเนื้อใหญ่ การทรงตัว การเคลื่อนไหวร่างกาย
  • กล้ามเนื้อมัดเล็ก : ซึ่งเป็นการใช้มือใช้ตาประสานงานกัน เช่น การหยิบจับของ การเขียนหนังสือ การจับช้อน วาดรูป
  • พัฒนาการด้านการเรียนรู้ : เด็กมีความสามารถในการรับรู้ และผลของการรับรู้นั้นเข้าใจและปฏิบัติหรือเปล่า อันนี้เป็นพัฒนาการการเรียนรู้ด้านสติปัญญา เพื่อปรับตัวเข้ากับสิ่งเร้าต่างๆ
  • ความเข้าใจภาษาและสื่อภาษา : ด้านนี้จะมาก่อน เมื่อเด็กๆ เข้าใจภาษาแล้ว เด็กก็จะสื่อภาษาตามมา ในขณะเดียวกันมีเด็กหลายคนที่เข้าใจหมด แต่ไม่พูด เพราะอะไร จุดนี้น่าสนใจ บางทีเพราะคุณแม่หรือครูใจร้อน ไม่ได้ปล่อยโอกาสหรือเวลาเพื่อให้เด็กมีโอกาสตอบสนองออกมา
    จริงๆ แล้วเด็กอาจพูดได้แต่ชี้ปุ๊บได้ปั๊บก็สบายไม่ต้องพูดเสียเลย แต่ถ้าชี้ปุ๊บเราถามอะไรลูก เขาชี้น้ำเราก็พาเขาไปที่ๆ เขาชี้ กินน้ำหรือพูดกับลูกว่า...เอ้านี่ น้ำลูกน้ำ อย่างนี้จะทำให้เขารับรู้แล้วว่า นี่คือน้ำ ต่อไปถ้าเด็กจะกินน้ำเขาอาจออกเสียงน้ำไม่ชัด ไม่เป็นไร แต่นี่คือการรอการเปิดโอกาสให้เด็กพูดออกมาบ้าง
  • พัฒนาการด้านสุดท้ายคือ ด้านอารมณ์ สังคม และการช่วยเหลือตัวเอง พัฒนาการเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเป็นผู้เปิดโอกาสให้เด็ก เช่น รู้จักใส่หรือถอดเสื้อผ้าเอง ช่วยคุณแม่บ้าง ตักข้าวทานเอง ทานน้ำจากแก้วเองไม่ต้องทานจากขวดแล้ว ขวบครึ่งควรจะฝึก ให้ดื่มน้ำจากแก้วได้แล้ว พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองนี้สำคัญมาก หากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้เด็กหัดช่วยตัวเองมาแต่ต้น เขาจะมีความภาคภูมิใจในตัวเองและอยากทำต่ออีก
เด็กมีภาวะปัญญาอ่อนหรือเด็กพูดช้าด้วยสาเหตุใดๆ ก็ตาม โดยมากมักมีปัญหาด้านการเรียนด้วย ปกติเด็กจะมีทักษะพื้นฐาน ของการเรียนรู้อยู่ เช่น เรียนได้ไหม เป็นคนช่างสังเกตหรือเปล่า จดจำได้ไหม แต่เด็กที่ช้าจะมีปัญหาตรง 3 จุดคือ
  1. จับจุดไม่เป็น ไม่รู้ครูพูดเรื่องอะไร ไม่ค่อยเข้าใจ ตอบไม่ได้ก็ไม่ตอบ การเรียนรู้ก็ช้าตามไปด้วย
  2. ได้หน้าลืมหลัง เห็นชัดเลยว่าสอนไปแล้วกลับบ้านถามตอบไม่ได้ ไม่รู้หรือเรียนเรื่องนี้พิสูจน์ว่าได้แล้ว พอเราเริ่มสอนสิ่งใหม่อันเก่าลืมแล้ว เราต้องกลับมาเน้นย้ำที่เรียนไปด้วย เพื่อให้เกิดการเรียนรูที่ถาวร และคงที่หากเราไม่ได้เน้นในแง่การเรียนรู้อันเดิมเด็กก็จะลืม
  3. เด็กช้าจะรู้สึกล้มเหลวง่าย ทำไม่ได้แล้วก็มักจะถูกดุถูกว่า เด็กพวกนี้มักจะรู้สึกล้มเหลวง่าย ไม่ค่อยเก่งอยู่แล้ว หันไปรอบข้างน้องพี่เก่งกว่า พ่อแม่ก็มักจะชมแต่น้องหรือพี่ ตัวเองทีไรไม่ได้รับการชมเชยเลย ก็ยิ่งช้าไปใหญ่
ทั้ง 3 จุดนี้พ่อแม่จะต้องมีเทคนิคในการสอนให้ดีพอ และสามารถพัฒนาเด็กปัญญาอ่อนให้มีภาวะที่ดีขึ้นเป็นลำดับ จนบางครั้งถ้ามีภาวะการเรียนรู้ที่ช้าแต่ไม่ถึงปัญญาอ่อน ก็สามารถมีระดับสติปัญญาใกล้เคียงภาวะปกติหรือเด็กในวัยเดียวกันได้
สอนเด็กพูดช้าทำอย่างไร
สอนเด็กเหมือนเด็กปกติเพียงแต่สอนให้ช้าลง ก่อนที่เราจะสอน เราก็ต้องรู้ก่อนว่า เด็กคนนั้นเขารู้อะไรบ้างแล้ว ถ้าเด็ก 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ประเมินได้จากการเล่นกับเพื่อน หรือถามพี่เลี้ยงว่า เด็กทำอะไรได้บ้างหรือไม่ เพื่อการยืนยันว่าเด็กช้าหรือไม่ เท่ากับเด็กอายุเท่าไร ความสามารถของเด็กมีเท่าไหร่ จะมีแบบประเมินพัฒนาการโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษามาโดยเฉพาะ เวลาเราสอนการพูดเราก็สอนเรื่องอื่นด้วย และในขณะที่สอนเรื่องอื่น เราก็สอนการพูดด้วย
แนวทางการฝึกพูดสำหรับเด็กปัญญาอ่อน
  1. การสอนพูดควรจะเริ่มให้เร็วที่สุด
  2. ถ้าเด็กมีความล่าช้าทางด้านภาษาและการพูด ควรเริ่มสอนให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านภาษาก่อน จึงจะแก้ไขเสียงที่พูดไม่ชัดภายหลัง
  3. สอนให้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนในการรับรู้ภาษา
  4. เวลาสอนควรใช้ภาษาเดียวกับเด็ก อย่าพูดหลายภาษา
  5. ควรเลือกสอนคำที่เด็กใช้ในชีวิตประจำวันก่อน เช่น คำนาม ชื่อสัตว์ ชื่อคน สิ่งของ
  6. ในระยะแรก ควรเริ่มสอนจากคำพยางค์เดียวก่อน
  7. เมื่อพูดกับเด็ก ควรให้เด็กได้มีโอกาสพูดโต้ตอบบ้าง เพื่อให้เด็กเห็นถึงความสำคัญของการพูดในชีวิตประจำวัน
  8. ในระยะแรก ถ้าเด็กพูดไม่ชัดอย่าเพิ่งเคี่ยวเข็ญให้เด็กพูดชัด เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายไม่อยากพูด
  9. จัดสถานการณ์ต่างๆ ที่เอื้ออำนวยให้เด็กอยากพูดโต้ตอบด้วย ไม่บังคับให้เด็กออกเสียงหรือพูดตามใจผู้ใหญ่
  10. ควรสอนช้าๆ สอนซ้ำๆ โดยอาจเปลี่ยนแปลงรูปแบบ และวิธีการต่างๆ เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น
ทั้งหมดนี้เป็นข้อมูลเพื่อทำความรู้จัก และวิธีการแก้ไขเด็กพูดช้า สำหรับคุณพ่อคุณแม่ ที่กำลังวิตกกังวลว่าลูกน้อย จะมีพัฒนาการ ด้านการพูดช้าหรือไม่ อย่างไรก็ตามขอแนะนำว่า คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตติดตามพฤติกรรมพัฒนาการของลูกตลอดเวลา เพราะหากเกิดปัญหาขึ้นมาจะได้รีบเร่ง แก้ไขกันเสียแต่เนิ่นๆ และที่สำคัญควรพาลูกไปพบหมอหรือนักพัฒนาการเด็ก เพื่อการรักษาที่ถูกวิธีต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อปรับใช้

พัฒนาการ หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ ( maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆ
และตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้
ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น

     พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 6 ด้านดังนี้
          • พัฒนาการด้านร่างกาย
          • พัฒนาการด้านการรับรู้
          • พัฒนาการด้านสติปัญญา
          • พัฒนาการด้านภาษา
          • พัฒนาการด้านอารมณ์
          • พัฒนาการด้านสังคม

   พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์
การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ
ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้
ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย
          วัยทารก ( 0-2 ปี) อายุ 0-6 สัปดาห์ เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
          อายุ 4-6 เดือน จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก

        อายุ 6-9 เดือน สามารถแยกเสียงของแม่ได้
เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้
เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า
กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
          อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment) และจะติดผู้เลี้ยงดู
เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม
เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา
เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย
เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
       
อายุ 12-18 เดือน เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ
ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก
จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา
ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย - ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ
และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น
ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ
ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ
บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก - เด็กเริ่มพูดได้
เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
          อายุ 18-24 เดือน - เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี

        อายุ 2-3 ปี - เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น -
เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม
ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน ( Negativism)
ชอบพูดว่า “ ไม่ ” “ ไม่เอา ” “ ไม่ทำ ” เป็นต้น
          อายุ 3-5
ปี พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่
จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา -
เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism)
เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก
แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก
แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต -
เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ ทำไม ” “
ทำไมรถจึงวิ่ง ” ฯลฯ - เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2
อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “ นั่นอะไร ” “
นี่อะไร ” “ พ่อไปไหน ” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้
       
เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ ทำไม ” พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ
เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น
หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง
ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว พัฒนาการด้านสังคม -
เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง
บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้
- เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้
รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน
คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด
เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ
เป็นต้น พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง
เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น
       
เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา
เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม
กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ
โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน
เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน
และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า
Trasitional – object
 
 การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน
สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า
งานพัฒนาการ (Deelopmental task)
ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ
การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข
เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ
สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา
ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย
และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

การจัดกิจกรรมให้เด็ก

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


ความหมาย
การร้องเพลง หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนเกี่ยวกับภาษา เนื้อหา จังหวะและดนตรีของเพลงที่ร้อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย
2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างสนุกสนาน เพราะเป็นการเรียนแบบปนเล่น
3. เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน
4. เพื่อให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มในการแสดงท่าทางประกอบ
5. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในการเคลื่อนไหวร่างกายกับจังหวะเพลง
6 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กมีโอกาสปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และร่วมงานกันได้ดี เกิดความสามัคคี

เพลงสำหับเด็กเริ่มเรียน
ในระยะแรกเริ่มเรียนควรมีเนื้อเพลงสั้นๆกระฉับและง่ายต่อการจดจำ สาระของเนื้อเพลงต้องเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก คำที่ใช้ร้องควรเป็นคำศัพท์ที่เด็กเข้าใจ ทำนองเพลงง่ายๆเสียงเพลงไม่สูงหรือต่ำ มีจังหวะชัด เด็กๆชอบเพลงที่มีความสนุกสนาน เด็กเล็กๆร้องตามจังหวะเร็วไม่ได้ แต่โตขึ้นเด็กจะร้องจังหวะเร็วได้เอง

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
ครูควรเลือกเนื้อเพลงง่ายๆ มีเนื้อร้องสั้นๆ ตรงกับความต้องการของครูว่าต้องการให้เด็กร้องเพลงเพื่ออะไร เช่น บางครั้งอาจใช้ร้องเพื่อเป็นเรียกความสนใจของเด็กก่อนเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ในลักษณะการนำเข้าสู่บทเรียน (การเก็บเด็ก) หรืออาจใช้ในการเรียนการสอน การสรุปทบทวนความรู้จากบทเรียนนั้นๆ ดังนั้น วิธีการจัดกิจกรรมการร้องเพลงการร้องเพลงอาจให้เด็กฟังหรือร้องเพลงพร้อมครู โดยไม่จำเป็นต้องจดจำเนื้อร้องให้ได้ก่อน แต่อาจให้เด็กพูดเป็นคำคล้องจองตามเนื้อเพลงได้
ก่อนสอนเพลงครูควรนำภาพหรือของจริงที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงมาให้เด็กดู ครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 - 2 เที่ยวแล้วจึงให้เด็กว่าเนื้อเพลงที่ละวรรคตาม จากนั้นก็ให้เด็กร้องเพลงพร้อมครู และร้องเพลงพร้อมกัน การสอนเพลงให้กับเด็กนั้นมิได้มุ่งแต่จะร้องเพลงได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะหรือแสดงท่าทางประกอบด้วย

เนื้อหาเพลงที่ใช้สอนเด็ก
เพลงที่ใช้สอนเด็กมีเนื้อร้องที่ให้ความรู้ และช่วยในการแสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้แก่เด็กเพื่อพัฒนาตามวัย
1. ด้านร่างกาย ในการสอนเด็กปฐมวัยต้องใช้ท่าทางประกอบ เนื่องจากเด็กชอบการเคลื่อนไหวไม่ชอบอยู่นิ่ง ในการร้องเพลงจึงควรทำท่าทางประกอบ เด็กจะได้ทำท่าทางตามครู หรือคิดขึ้นเองที่เข้ากับจังหวะและเนื้อเพลง
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ ขณะที่เด็กร้องเพลงหรือทำท่าทางประกอบเพลงนั้น เด็กจะแสดงอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนาน เพลิดเพลิน ดวงตาเป็นประกายอย่างมีความสุข เพลงจะช่วยให้เด็กคลายความเครียด มีอารมณ์สดชื่น
3. ด้านสังคม เมื่อเด็กมาโรงเรียนนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเด็ก เพราะเด็กต้องจากบ้าน จากพ่อจากแม่มาสู่โรงเรียนซึ่งเป็นสังคมใหม่ ประกอบไปด้วยสถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่ ครู หรือคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ในโรงเรียน สิ่งที่จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยและเข้ากับผู้อื่นได้ ด้วยการใช้เพลงเป็นสื่อ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สนิทสนมใกล้ชิดกับเพื่อนและครู
4. ด้านสติปัญญา เพลงช่วยให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดี ทั้งช่วยให้จำได้เร็วกว่าการบอกเล่า ฝึกให้รู้จักคิดและได้ความรู้เรื่องต่างๆ เช่น
4.1 คณิตศาสตร์ เพลงช่วยให้เด็กมีความเข้าใจและจดจำเกี่ยวกับเรื่องจำนวน หรือความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ดี และผู้สอนอาจจะสังเกตว่าเด็กเข้าใจความหมายของเนื้อเพลงได้เพียงใด จากการที่เด็กแสดงท่าทางประกอบเพลง
4.2 วิทยาศาสตร์ เพลงเด็กมีหลากหลายเพลงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก เช่น เกี่ยวกับสัตว์ พืช ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น

การประเมินผล
1. สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม
2. สังเกตความกล้าแสดงออกของเด็ก
3. สังเกตการณ์ร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบ

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความหมายของเพลง

การนำเพลงไปใช้จัดกิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย


เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



โลกของเด็กเป็นโลกดนตรี เด็กๆมักชอบทำเสียงสูงๆ ต่ำๆ ในการร้องเพลง การสอดแทรกกเพลงรวมไปในบทเรียนจะช่วยให้เด็กเกิดความสนใจ เกิดการเรียนรู้และส่งเสริมด้านภาษาของเด็กทำให้เด็กสนุกสนาน เพลิดเพลิน

ความหมาย
การร้องเพลง หมายถึง กิจกรรมที่จัดให้กับเด็กให้เด็กได้แสดงออกเพื่อความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และเรียนเกี่ยวกับภาษา เนื้อหา จังหวะและดนตรีของเพลงที่ร้อง

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เด็กได้รับความเพลิดเพลิน สนุกสนาน ไม่เบื่อหน่าย
2. เพื่อให้เด็กได้รับความรู้อย่างสนุกสนาน เพราะเป็นการเรียนแบบปนเล่น
3. เพื่อกล่อมเกลาจิตใจให้เด็กมีนิสัยอ่อนโยน
4. เพื่อให้เด็กเกิดความคิดริเริ่มในการแสดงท่าทางประกอบ
5. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายในการเคลื่อนไหวร่างกายกับจังหวะเพลง
6 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทางสังคมให้เด็กมีโอกาสปรับตัวเข้ากับผู้อื่น และร่วมงานกันได้ดี เกิดความสามัคคี

เพลงสำหรับเด็กเริ่มเรียน

ในระยะแรกเริ่มเรียนควรมีเนื้อเพลงสั้นๆกระฉับและง่ายต่อการจดจำ สาระของเนื้อเพลงต้องเหมาะสมกับวัยและความสนใจของเด็ก คำที่ใช้ร้องควรเป็นคำศัพท์ที่เด็กเข้าใจ ทำนองเพลงง่ายๆเสียงเพลงไม่สูงหรือต่ำ มีจังหวะชัด เด็กๆชอบเพลงที่มีความสนุกสนาน เด็กเล็กๆร้องตามจังหวะเร็วไม่ได้ แต่โตขึ้นเด็กจะร้องจังหวะเร็วได้เอง

การนำเพลงไปจัดกิจกรรมให้กับเด็ก
ครูควรเลือกเนื้อเพลงง่ายๆ มีเนื้อร้องสั้นๆ ตรงกับความต้องการของครูว่าต้องการให้เด็กร้องเพลงเพื่ออะไร เช่น บางครั้งอาจใช้ร้องเพื่อเป็นเรียกความสนใจของเด็กก่อนเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ในลักษณะการนำเข้าสู่บทเรียน (การเก็บเด็ก) หรืออาจใช้ในการเรียนการสอน การสรุปทบทวนความรู้จากบทเรียนนั้นๆ ดังนั้น วิธีการจัดกิจกรรมการร้องเพลงการร้องเพลงอาจให้เด็กฟังหรือร้องเพลงพร้อมครู โดยไม่จำเป็นต้องจดจำเนื้อร้องให้ได้ก่อน แต่อาจให้เด็กพูดเป็นคำคล้องจองตามเนื้อเพลงได้
ก่อนสอนเพลงครูควรนำภาพหรือของจริงที่เกี่ยวกับเนื้อหาของเพลงมาให้เด็กดู ครูร้องเพลงให้เด็กฟังก่อน 1 - 2 เที่ยวแล้วจึงให้เด็กว่าเนื้อเพลงที่ละวรรคตาม จากนั้นก็ให้เด็กร้องเพลงพร้อมครู และร้องเพลงพร้อมกัน การสอนเพลงให้กับเด็กนั้นมิได้มุ่งแต่จะร้องเพลงได้เพียงอย่างเดียว แต่ควรมีการเคาะจังหวะหรือแสดงท่าทางประกอบด้วย

เนื้อหาเพลงที่ใช้สอนเด็ก
เพลงที่ใช้สอนเด็กมีเนื้อร้องที่ให้ความรู้ และช่วยในการแสริมสร้างพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ให้แก่เด็กเพื่อพัฒนาตามวัย
1. ด้านร่างกาย ในการสอนเด็กปฐมวัยต้องใช้ท่าทางประกอบ เนื่องจากเด็กชอบการเคลื่อนไหวไม่ชอบอยู่นิ่ง ในการร้องเพลงจึงควรทำท่าทางประกอบ เด็กจะได้ทำท่าทางตามครู หรือคิดขึ้นเองที่เข้ากับจังหวะและเนื้อเพลง
2. ด้านอารมณ์-จิตใจ ขณะที่เด็กร้องเพลงหรือทำท่าทางประกอบเพลงนั้น เด็กจะแสดงอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส สนุกสนาน เพลิดเพลิน ดวงตาเป็นประกายอย่างมีความสุข เพลงจะช่วยให้เด็กคลายความเครียด มีอารมณ์สดชื่น
3. ด้านสังคม เมื่อเด็กมาโรงเรียนนับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตเด็ก เพราะเด็กต้องจากบ้าน จากพ่อจากแม่มาสู่โรงเรียนซึ่งเป็นสังคมใหม่ ประกอบไปด้วยสถานที่ใหม่ เพื่อนใหม่ ครู หรือคนอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ในโรงเรียน สิ่งที่จะช่วยให้เด็กคุ้นเคยและเข้ากับผู้อื่นได้ ด้วยการใช้เพลงเป็นสื่อ ซึ่งจะช่วยให้เด็กได้สนิทสนมใกล้ชิดกับเพื่อนและครู
4. ด้านสติปัญญา เพลงช่วยให้เด็กมีความรู้และเข้าใจเรื่องต่างๆ ได้ดี ทั้งช่วยให้จำได้เร็วกว่าการบอกเล่า ฝึกให้รู้จักคิดและได้ความรู้เรื่องต่างๆ เช่น
4.1 คณิตศาสตร์ เพลงช่วยให้เด็กมีความเข้าใจและจดจำเกี่ยวกับเรื่องจำนวน หรือความหมายทางคณิตศาสตร์ได้ดี และผู้สอนอาจจะสังเกตว่าเด็กเข้าใจความหมายของเนื้อเพลงได้เพียงใด จากการที่เด็กแสดงท่าทางประกอบเพลง
4.2 วิทยาศาสตร์ เพลงเด็กมีหลากหลายเพลงที่ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติรอบๆ ตัวเด็ก เช่น เกี่ยวกับสัตว์ พืช ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นต้น

การประเมินผล

1. สังเกตความสนใจในการร่วมกิจกรรม
2. สังเกตความกล้าแสดงออกของเด็ก
3. สังเกตการณ์ร้องเพลงและการทำท่าทางประกอบ

เพลงเด็ก

เพลงกับเด็กปฐมวัย ตอนที่ 1 (LO 1.4.4/4)

เพลงกับเด็กปฐมวัย ตอนที่ 1
เด็กปฐมวัยมีการพัฒนาสติปัญญาได้รวดเร็วมากและช่วงนี้เด็กจะมีความจำที่ดีบทเพลงรึคำคล้องจองจึงมีส่วนสำคัญต่อการจำของเด็กดังนั้นวันนี้นู๋เก่งจึงนำเนื้อเพลงเกี่ยวกับเด็กปฐมวัยมาฝากเพื่อนๆค่ะ
   ก่อนที่จะไปดูบทเพลงนู๋เก่งต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่านที่กรุณาแต่งบทเพลงมาเพื่อการพัฒนาสติปัญญาของเด็กปฐมวัยนู๋เก่งไม่อาจบอกได้ว่าอาจารย์ท่านใดแต่งเพลงใดเพราะแต่ละเพลงนู๋เก่งได้มาจากการร้องปากต่อปากถ้าเนื้อเพลงท่อนใดมีการผิดไปจากต้นฉบับจริงนู๋เก่งก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
1.เพลงลูกหมู
ในเช้าแจ่มใสวันหนึ่งซึ่งเป็นวันน้ำนอง ลูกหมูก็อยากจะลอง ๆเล่นโคลน แต่แล้วก็ต้องคันเท้าพยาธิไซเท้าของมัน ลูกหมูคิดได้เร็วพลันรีบป้องกันทันที จึงทำรองเท้าด้วยไม้เชือกเป็นสายชั้นดี เร็วมาช่วยกันซิจะได้ของดีเสียงดังกับ กิ๊บ กับ   กับ กิ๊บ กับ   กับ กิ๊บ กับ กิ๊บ กับ กิ๊บกับ
มาฟังเสียงฉันเดินซิ ๆ ๆ ๆ ๆ
กับ กิ๊บ กับ   กับ กิ๊บ กับ   กับ กิ๊บ กับ กิ๊บ กับ กิ๊บกับ  
2.เพลงฝน
ซ่า ซ่า ซ่า ฝนตกลงมากระเด็นเป็นฝอยเด็ก เด็ก หลบฝนกันหน่อยเด็ก เด็ก หลบฝนกันหน่อยฝนเพียงเล็กน้องจะเป็นหวัดเอ๋ยฮัด เช้ย  ฮัด เช้ย ฮัด เช้ย 
 3.เพลงโด เร มี
โดเป็นเสียงชั้นที่หนึ่งแล้วจึงเลื่อนไปเสียงเร มีเป็นเสียงมีเสน่ห์รวมกันสวยเก๋เป็นโด เร มีโด เร มี มี เร โดโอ้โหขอฟังอีกทีโด เร มี มี เร โด  
4.เพลงนับเลข
โน้นนกบินมาลิ๊บๆ
นกกระจิบ 1 2 3 4 5
 อีกฝูงบินล่องลอยมา6 7 8 9 10 ตัว  
5.เพลงกาต้มน้ำ
ฉันคือกาต้มน้ำน้อยอ้วนม่อต้อนี้คือหูของฉัน นี้คืออวยตางอยามเมื่อน้ำกำลังเดือด ฉันร้อง ฮอยกฉันลงแล้วก็ชงฉันหน่อยยกฉันลงแล้วก็ชงฉันหน่อย  
6.เพลงสามเหลื่ยม สี่เหลื่ยม วงกลม
สามเหลื่ยม สี่เหลื่ยม วงกลม
ครูบรรจงให้หนูรู้จัก
เด็กๆหนูช่างน่ารัก
เรามารู้จัก สามเหลื่ยม สี่เหลื่ยม วงกลม  
7.เพลงนาฬิกา
ต๊อก ติ๊ก ต๊อก ต๊อก ติ๊ก ต๊อก
เขาบอกว่าฉันเป็นนาฬิกาเดินวนไปเวียนมา ๆ
พอถึงเวลาก็ร้อง ติ๊ก ต๊อก
 
8.เพลงสวัสดี
สวัสดีแบบไทย ๆแล้วก็ไปแบบสากลสวัสดีทุกๆคน
แบบสากลแล้วก็แบบไทย
 9.เพลงสวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ
เมื่อเจอกันเราทักกันสวัสดี   สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ
เมื่อผิดพลั้งขออภัยขอโทษที   ขอโทษครับ/ขอโทษค่ะ
เมื่อจากกันยกมือไหว้สวัสดี   สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ
เมื่อใครมีจิตไมตรีขอขอบคุณ   ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ
  
10.เพลงเข้าแถว
เข้าแถว เข้าแถว อย่าล้ำแนวยืนเรียงกันอย่ามั่วแชร์เชือนเดินตามเพื่อนให้ทันระวังจะเดินชนกัน  
 เข้าแถวเร็วพลันว่องไว 

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เพลงม้าลาย

เพลงฮิบโปโปเตมัส

เพลงกับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดกิจกรรมเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงจัดเป็นสื่อการเรียนรู้ที่สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นเดียวกับการเล่นและเล่านิทาน เนื่องจากเพลงช่วยสร้างเสริมให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินและกล่อมเกลาให้เด็กเป็นคนมีจิตใจอ่อนไหว รักเสียงเพลงและดนตรี ทำให้ผ่อนคลายอารมณ์และรู้สึกมีชีวิตชีวาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรม และมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม

ประเภทของเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงเด็กมีหลายประเภทและหลายลักษณะตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน ทั้งที่มีมาแต่เดิมและมีการแต่งขึ้นใหม่สำหรับร้องเล่นทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทร้อยกรองหรือบทกลอนสำหรับกล่อมเด็ก
ส่วนใหญ่มีเนื้อหาบรรยายชีวิต และความเป็นอยู่ที่สะท้อนถึงความเอื้ออาทรรักใคร่ผูกพันที่แม่มีต่อลูก ซึ่งจะพบเนื้อหาของเพลงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น เพลงกล่อมเด็กภาคอีสานว่า "แม่ไปไร่สิหมกไข่มาหา แม่ไปนาสิหาปลามาป้อน" เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง "กาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก" เพลงกล่อมเด็กมักแฝงปรัชญาคำสอนไว้อย่างแยบคาย ให้คนได้คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ต้องให้ความรัก
เพลงประกอบเด็ก เป็นบทร้องร้อยกรอง / คำคล้องจอง หรือบทปลอบเด็กสำหรับร้องปลอบเด็กร้องไห้โยเยบ่อยให้เงียบ และเกิดความเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น "กุ๊กๆ ไก่ เลี้ยงลูกจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบๆ แม่ก็เรียกไปคุ้ยดิน ทำมาหากิน ตามประสาไก่เอย" เพลงปลอบเด็กนี้ จะต้องไห้เด็กฟังอย่างเดียวหรืออาจทำท่าทางประกอบด้วยก็ได้
เพลงเด็กเล่นเป็นบทร้อยกรอง หรือบทร้องเล่นของเด็กที่เป็นบทกลอนสั้นๆทำนองง่าย ให้ได้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนาน หรือร้องล้อเลียนหยอกล้อกันเนื้อความบางส่วนอาจไม่มีความหมาย แต่มุ่งให้จังหวะคล้องจอง และสัมผัสที่ไพเราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ทางภาษามากขึ้น และฝึกนิสัยในการจำ ตัวอย่าง เช่น "ตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ไข่ตกดิน เก็บกินไม่ได้"
บทร้องประกอบการเล่น เป็นร้องที่เป็นบทเพลงทำนองบทกลอนสั้นๆที่ร้องประกอบการละเล่น เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้ร้องจะให้จังหวะ ให้ความพร้อมเพรียงในการเล่นเกม เนื้อเพลงบางเพลงยังอธิบายถึงวิธีการเล่นด้วย ตัวอย่างเช่น "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี้ ฉันจะตีก้นเธอ" "โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" การละเล่นนี้ยังมีประโยชน์ในการออกกำลังกาย การเล่นร่วมกันการออกเสียงภาษา การรู้จักช่วยเหลือกัน และเสริมสร้างความรู้สึกสุนทรีย์จากสัมผัสคล้องจองไพเราะด้วย
เพลงเด็กแต่งขึ้นใหม่ เป็นบทเพลงที่ใช้ประกอบการสอนเด็กปฐมวัยเป็นเนื้อเรื่องที่มีความหมาย และสามารถทำท่าทางประกอบร้องได้ เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกสนุกสนานและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เพลงดื่มนม เพลงเก็บของเล่น เพลงนิ้วมือจ๋า เพลงแปรงฟัน

การเลือกเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงของเด็กควรมีเนื้อร้องง่ายๆ สั้นๆ คำซ้ำๆ เสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไปทำนองง่าย จังหวะชัดเจนไม่ช้าหรือเร็วเกินไป และควรเลือกให้เหมาะกับพัฒนาการเรียนรู้และความสามารถทางภาษาของเด็ก โดยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเลือกบทร้องที่เป็นคำคล้องจองง่ายๆ ส่วนเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป เนื้อร้องอาจยาวขึ้นได้

วิธีการแนะนำเพลงให้เด็ก
การปลูกฝังความสนใจในเพลงให้กับเด็ก ควรเริ่มต้นตั้งแต่เล็กโดยผู้ใหญ่ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกเด็กจะสนใจจังหวะและเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะ และเริ่มจดจำเนื้อร้องในเพลงเมื่อได้ยินเพลงเดิมซ้ำบ่อยๆ ในการแนะนำเพลงให้กับเด็กควรดำเนินการ ดังนี้
- นำเสนอเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ มีคำซ้ำๆ และมีทำนองง่าย โดยชักชวนให้เด็กฟังเพลงด้วยกันก่อน เด็กชอบฟังเพลงซ้ำๆ
- เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกตามความต้องการ เด็กจะร้องตาม ถูกหรือผิดควรให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยความมั่นใจ
- ฝึกให้เด็กรู้จักเคาะจังหวะ เด็กมักมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงจังหวะเพลง อาจให้เด็กปรบมือตามจังหวะ หรือเคาะเครื่องดนตรีโดยไม่คาดหวังความถูกผิด