วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการเด็กอายุ 4-5 ปี
และพัฒนาการที่สงสัยว่าผิดปกติ

เด็กวัยนี้ เริ่มซุกซน มีพละกำลังในการสำรวจโลกมากขึ้น เขากำลังเรียนรู้ว่าอะไรเป็นโลกจินตนาการ (Fantasy) หรืออะไรเป็นโลกแห่งความจริง
พัฒนาการที่ปกติ
- ยืนขาเดียวได้นานเกิน 10 วินาที
- กระโดดได้สูง
- เล่นชิงช้า ปีนป่ายได้คล่อง
- กระโดดข้ามเส้น หรือเครื่องกีดขวางได้พอประมาณ
พัฒนาการที่ผิดปกติ มีอาการดังต่อไปนี้age6
- แสดงอาการหวาดกลัว และขี้ขลาดมาก
- ก้าวร้าวมาก
- เกาะแม่หรือพ่อแจ
- ไม่สนใจเล่นกับเพื่อน
- ไม่ตอบสนองต่อคนรอบข้าง
- ไม่เล่นสมมติ หรือเล่นตามอย่างเพื่อน
- ดูเหมือนเป็นเด็กไม่มีความสุข ซึมเศร้าตลอดเวลา
- ไม่เข้าร่วมทำกิจกรรมอะไรเลย
- หลีกเลี่ยงที่จะคบกับเด็กคนอื่น
- ไม่แสดงอารมณ์ใด ๆให้เห็น
- ไม่ยอมกิน นอน ใช้ส้วม
- แยกโลกแห่งจินตนาการจาก โลกแห่งความจริงไม่ได้
- ไม่เข้าใจคำสั่ง “วางถ้วยบนโต๊ะ”
- บอกชื่อและนามสกุลตัวเองไม่ได้
- ไม่พูดถึงกิจกรรม และประสบการณ์ใน แต่ละวันให้พ่อแม่ฟัง
- จบดินสอไม่ค่อยเป็น
- ถอดเสื้อไม่ค่อยได้
- แปรงฟันไม่ได้ดี
- ล้างมือและเช็ดมือไม่เป็น
พัฒนาการด้านอื่นๆ ที่ปกติมีดังนี้
การใช้มือและนิ้ว
-3 ขวบ เขียนวงกลมได้ - 4 ขวบ เขียนสี่เหลี่ยมได้ - 5 ขวบ เขียนรูปสามเหลี่ยมได้
- เขียนสามเหลี่ยมและตัวเลขตามแบบได้
- เขียนรูปภาพที่มีลำตัวได้
- เขียนตัวหนังสือได้บางตัว
- ใส่เสื้อและถอดเสื้อได้โดยไม่ต้องช่วยเหลือ
- ใช้ ช้อน ส้อม ได้
- เข้าส้วมเองได้
พัฒนาด้านภาษา
- จำเรื่องราวบางตอนของนิทานได้
- พูดประโยคยาวมากกว่า 5 พยางค์
- เล่าเรื่องยาว ๆ ได้
- บอกชื่อตัวเองและที่อยู่ได้
พัฒนาด้านความคิดและความจริง
- นับเลขได้เกิน 10
- บอกสีต่าง ๆ ได้ถูกต้องอย่างน้อย 4 สี

วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

การเสริมทักษะในด้านต่างๆนอกจากด้านการศึกษา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับในปัจจุบัน เืพื่อที่จะทำให้เด็กๆมีความสามารถหลากหลาย หรือเป็นการสนับสนุนสิ่งที่เด็กชอบหรือถนัด เช่น การวาดรูป เล่นดนตรี ร้องเพลง รำไทย เป็นต้น และยังมีสิ่งที่ช่วยเสริมทักษะด้านร่างกายสำหรับเด็กเล็ก เด็กอนุบาล นั่นคือการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา ซึ่งกีฬาส่วนใหญ่ควรจะต้องฝึกฝนตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เช่น กอล์ฟ ฟุตบอล ยิมนาสติก ว่ายน้ำ โดยเฉพาะกีฬาว่ายน้ำนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังเป็นสิ่งสำคัญที่อาจจะทำให้เด็กๆสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
 

การเสริมทักษะอื่นให้กับเด็กอนุบาลและเด็กประถม

การเสริมทักษะอื่นๆให้กับเด็กเล็ก เด็กอนุบาล เด็กประถม

1. การร้องเพลงและเคลื่อนไหวเข้าจังหวะั

การร้องเพลงเ็ป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์ในการเสริมทักษะให้กับเด็ก นอกจากจะทำให้เด็กเพลิดเพลิน สนุกสนานแล้ว ยังเป็นการฝึกการออกเสียง การอ่านให้กับเด็กได้อย่างดี คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะแทรกหรือเสริมคำศัพท์ คำอธิบาย เกี่ยวกับเนื้อเพลงที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็ก อีกทั้งยังสามารถฝึกให้เด็กสามารถออกเสียง หรือสะกดคำให้ถูกต้อง ซึ่งการเสริมความรู้นี้ เด็กจะเรียนรู้ได้อย่างอัตโนมัต
ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกเพลงที่มีประโยชน์ให้กับเด็ก เช่น เพลงเกี่ยวกับตัวอักษร เพลงเกี่ยวกับคำศัพท์ไทยหรืออังกฤษ เพลงเกี่ยวกับตัวเลข สูตรคูณ เพลงเกี่ยวกับสี เพลงเกี่ยวกับวันในสัปดาห์ เพลงเหล่านี้จะมีประโยชน์สำหรับเด็กทั้งในการออกเสียง และยังเป็นการเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ในชั้นเรียนอีกด้วย
การร้องเพลงยังเป็นการฝึกให้เด็กรู้จับบังคับให้ออกเสียงไปตามทำนองที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นการฝึกสมาธิของเด็กเองในทางอ้อม และยังสร้างความมั่นใจ กล้าแสดงออกให้กับเด็กอีกด้วย
การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะหรือการเต้นรำ ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งซึ่งควรทำประกอบกับการร้องเพลง ทำให้เด็กมีความสนุกสนามมากขึ้น และยังเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การเคลื่อนไหวให้เข้าจังหวะ ยังสอนให้เด็กพัฒนาการควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆ ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งสมองและกล้ามเนื้อ และมีหลายๆเพลงที่สอนให้เด็กเคลื่อนไหว เช่น หันไปทางขวาและทางซ้าย ชูมือขึ้นและหมุน ปรบมือเป็นจังหวะ หรือแม้กระทั้งการเต้นเป็นทีมประกอบเพลง
2. การเล่นกีฬาและเกมต่างๆ
การเล่นกีฬาเป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญ เพราะเด็กในวัยนี้อยู่ในวัยที่กำลังพัฒนาร่างกายทุกส่วน การได้เล่นกีฬาหรือออกกำลังกายที่เหมาะสม จะเป็นตัวช่วยที่สำคัญที่ทำให้เด็กมีพัฒนาการทางกายภาพที่ดีในอนาคต และเป็นส่วนช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆได้มากขึ้น เพราะร่างกายแข้งแรง ไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนรู้
อีกทั้งการเล่นกีฬาย้งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ค้นพบความสามารถพิเศษของเด็ก ซึ่งควรที่จะได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เพราะนัำกกีฬาที่ประสบความสำเร็จ ส่วนใหญ่ต้องเริ่มเล่นกีฬามาตั้งแต่วัยเด็ก เช่น ไทเกอร์ วูดส์ ภารดร หรือ แทมมี่
อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะเลือกกีฬาที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะกีฬาบางอย่างอาจจะต้องอาศัยกล้ามเนื้อที่แข็งแรง หรือมีการกระแทกมากเกินไป กีฬาบางชนิดอาจจะต้องอาศัยการดูแลอย่างใกล้ชิด จากคุณพ่อคุณแม่ เช่น การขี่จักรยาน กีฬาว่ายน้ำ
โดยเฉพาะการว่ายน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรให้ผู้เชี่ยวชาญหรือคุณครูสอนว่าย ทำการสอนการว่ายน้ำให้กับเด็ก เพราะครูสอนว่ายน้ำจะมีเทคนิคและวิธีการสอน ที่ทำให้เด็กคุ้นเคยกับน้ำ คุณพ่อคุณแม่อาจจะทำการสอนว่ายน้ำให้กับลูกท่านเองได้ แต่ควรระวังอย่าทำให้เด็กกลัวน้ำตั้งแต่ต้น เพราะจำทำให้เด็กเกิดความกลัวฝังใจ และจะเป็นการยากที่จะสอนว่ายน้ำให้กับเด็กในอนาคต ผู้เขีัยนขอแนะนำให้เด็กๆทุกคนมีโอกาสที่จะว่ายน้ำ และรู้จักการว่ายน้ำที่ถูกต้อง เพราะการว่ายน้ำเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด และยังสามารถทำให้เด็กช่วยเหลือตัวเองได้ระัดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการไม่คาดคิดขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นจากประสบการณ์เด็กส่วนใหญ่ชอบการเล่นน้ำ ดังนั้นบางครั้งเราอาจจะไม่สามารถดูแลเด็กได้ตลอดเวลา เขาอาจจะไปเล่นน้ำโดยที่คุณพ่อคุณแม่ไม่รู้ การที่เด็กว่ายน้ำเป็น ก็จะทำให้คุณพ่อคุณแม่เบาใจได้ว่าเด็กสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนและเน้นย้ำเกี่ยวกับอันตรายทางน้ำให้กับเด็ก จากสถิติและข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ การตายของเด็กส่วนหนึ่งก็มาจากอุบัติเหตุทางน้ำนั้นเอง
เกมต่างๆก็เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ผู้เขียนแนะนำให้เด็กมีโอกาสได้เล่น เกมในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึงเกมคอมพิวเตอร์ ซึ่งในความคิดของผู้เขียน คุณพ่อคุณแม่ยังไม่ควรให้เด็กเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ตราบใดที่เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะหรือการรับรู้สิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ที่ดีพอ ในความเห็นของผู้เขียนคุณพ่อคุณแม่ควรจะรอให้เด็กโตอีกระดับหนึ่งประมาณ 10 ขวบขึ้นไป จึงจะเหมาะสมที่จะเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เพราะผู้เขียนเป็นห่วงเรื่องการควบคุมเด็ก การใช้เวลาที่เหมาะสม
เกมที่เราจะกล่าวถึงในที่นี้ เป็นเกมง่ายๆธรรมดา เช่น เกมฝึกสมอง เกมกระดาน หรือเกมสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก การเล่นเป็นหมอและนางพยาบาล แน่นอนว่าเกมฝึกสมองต่างๆ และเกมกระดาน เช่น หมากฮอลส์ เกมเศรษฐี เหล่านี้จะเป็นการเสริมการพัฒนาการของเด็ก ทั้งในเรื่องความคิด ทักษะการคิดเลข การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนที่เล่นเกม ความอดทนรอคอย
ส่วนเกมที่เป็นบทบาทสมมติ เช่น การเล่นขายของ การเล่นเป็นพ่อแม่ลูก ก็เป็นการเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก คุณพ่อคุณแม่จะพบความคิดของเด็ก ที่มีต่อครอบครัว หรือปัญหาต่างๆในใจของเด็ก จากการเล่นเกมสมมตินี้ คุณพ่อคุณแม่สามารถเล่นเกมเหล่านี้กับลูกของท่าน เพื่อที่จะสอดแทรกบทเรียนจากชีวิตจริงลงไป เช่น การเล่นพ่อแม่ลูก เราสามารถที่จะสอดแทรกหน้าที่ของคุณพ่อ หน้าที่ของคุณแม่ และหน้าที่ของคุณลูกที่ควรจะทำ เพื่อให้ครอบครัวมีความสุข การเล่นขายของเรายังสามารถสอนให้เด็กรู้จักการทำงาน ขยันทำงาน รู้จักค่าของเงินที่ได้มาจากการทำงาน
3. การวาดรูป ระบายสี
การวาดรูป ระบายสีเป็นกิจกรรมที่สามารถช่วยในการพัฒนาการทางด้านจินตนาการของเด็ก อย่างที่เราทราบกันว่าสมองของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ส่วนที่สำคัญ คือ ส่วนของความคิดที่เป็นเหตุผม (Logic) และส่วนที่เป็นความคิดทา่งด้านจินตนาการ (Imgaination) การวาดรูป ระบายสีก็จะทำให้เด็กสามารถแสดงจินตนาการออกมา คุณพ่อคุณแม่จะพบว่าจินตนาการของเด็กจะกว้างไกลอย่างคาดไม่ถึง การเปิดโอกาสให้เด็กวาดรูป ยังสามารถศึกษาว่าเด็กมีความคิดอย่างไร นักจิตวิทยายังสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็ก ผ่านจากรูปที่เด็กวาดออกมาจากจินตนการ
ยิ่งไปกว่านั้นคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถสอดแทรกความรู้ต่างๆได้ในการวาดรูป เช่น การแยกแยะสี เช่นสีไหนคือสีแดง สีไหนคือสีเขียว ความรู้ด้านรูปทรงต่างๆ เช่น สี่เหลี่ยม วงกลม ข้อดีอีกย่างหนึ่งของการวาดรูป ระบายสี คือจะสร้างให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ดินสอ การเขียน การควบคุมมือ ควบคุมดินสอให้วาดสิ่งต่างๆตามความต้องการ ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับทักษะการเขียนในอนาคต

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการที่ปกติของเด็ก : ขั้นตอนพัฒนาการที่สำคัญ
อายุ                      สิ่งที่เด็กควรได้
4-6 สัปดาห์            ยิ้มให้แม่
3-4 เดือน               หันศีรษะไปตามเสียง  จับหรือถือวัตถุที่คุณวางให้ในมือ
5 เดือน                   คว้าของที่เห็น
6-7 เดือน               เปลี่ยนของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง  เคี้ยวอาหารได้ นั่งเอา    มือยันไว้ข้างหน้า  เวลานอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้นได้เอง 
                              ถือขนมกินเอง
9-10 เดือน             ชี้ด้วยนิ้วชี้  คลาน  เล่นจ๊ะเอ๋  บ๊ายบาย  ให้ความร่วมมือเวลา                   แต่งตัว  เช่น  ชูมือขึ้นเพื่อใส่เสื้อ  ยื่นเท้าให้ใส่รองเท้า
13 เดือน                 เดินได้เอง  พูดคำเดี่ยวๆได้ 2-3 คำ
15 เดือน                 หยิบถ้วยขึ้นมาดื่มน้ำเอง
18 เดือน                 บอกเมื่อจะฉี่
21-24 เดือน           พูดเป็นวลี (2-3 คำติดกัน)
2 ปี                        ไม่ปัสสาวะราดตอนกลางวัน
3 ปี                        ไม่ปัสสาวะราดตอนกลางคืน  แต่งตัวเอง ยืนขาเดียวได้ชั่วครู่

พัฒนาการทางภาษา
อายุ                       สิ่งที่เด็กควรทำได้
2-6 เดือน               เล่นเสียง และส่งเสียงอ้อแอ้กับตนเอง
8-10 เดือน             เล่นเสียงสูงต่ำ  เลียนเสียงพ่อแม่หรือเสียงที่คุ้นเคย  ออกเสียงพยัญชนะ  เช่า ปา-ปา   มา-มา ได้
1-11/2 ปี              พูดคำเดี่ยวที่มีความหมายอื่นๆ นอกจากปาป้า-มาม้า
2 ปี                        พูดคำเดี่ยวประมาณ 20-50 คำ  พูดวลีหรือประโยคสั้นๆ 2-3 คำ
3 ปี                        พูดเป็นประโยคยาวๆ ได้

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าลูกเป็นออทิสติก?
คำแนะนำของสมาคมแพทย์ทางประสาทวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา
American Academy of Neurology และ Child Neurology Society

     หากเด็กมีลักษณะต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
1. ไม่มีการเล่นเสียง ชี้หรือใช้ท่าทางบอกความต้องการของตน เมื่ออายุ 12 เดือน
2. ไม่มีคำพูดที่มีความหมายเลย เมื่ออายุ 16 เดือน
3. ไม่มีวลี ( คำพูดติดกัน 2 คำขึ้นไป เช่น ไปเที่ยว ) เมื่ออายุ 24 เดือน
4. เด็กถดถอย/สูญเสียความสามารถทางภาษาหรือสังคมเมื่ออายุใดๆ ก็ตาม
     หากลูกมีพฤติกรรมต่อไปนี้คุณควรสงสัยว่าลูกอาจเป็นออทิสติก
ในเด็กเล็ก
ไม่ตอบสนองต่อคุณ เช่น เรียกชื่อแล้วไม่หัน ไม่สนใจฟังเวลาคุณพูดด้วย
ไม่มองหน้า ไม่สบตาเวลาคนพูดด้วย หรืออาจมองหน้าสบตาน้อยมาก
ชอบเล่นกับสิ่งของ  สนใจสิ่งของมากกว่าคน
ไม่เข้ามาหาเพื่อให้คุณกอด ไม่เข้ามาคลุกคลีกับคุณ
ชอบเล่นคนเดี่ยว ไม่ทำอะไรร่วมกับคนอื่น เช่น เล่นหรือฟังนิทานร่วมกับเด็กอื่น
เฉยเมย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
ทำตาลอยหรือมองอย่างไร้จุดหมาย
ไม่ยิ้มให้คุณ
ไม่รู้จักปลอบ เช่น ไม่ปลอบเวลาคุณหรือเด็กอื่นร้องไห้หรือเจ็บ
ไม่เข้ามาขอความช่วยเหลือจากคุณเมื่อมีปัญหาหรือไม่มาให้คุณปลอบ
เวลาไปศูนย์การค้าจะวิ่งไปดูสิ่งของโดยไม่สนใจคุณ
ไม่รู้จักหน้าที่ของสิ่งของ เช่น เอาของเล่นมาดมแทนที่จะเล่นเหมือนเด็กทั่วไป
ไม่เล่นสมมุติ เช่น เล่นขายของ เล่นป้อนข้าวตุ๊กตา หรือทำท่าทางเลียนแบบคุณ
พูดช้าหรือไม่พูดเลย
มีภาษาแปลกๆ ที่คุณฟังไม่เข้าใจ
ชอบพูดทวนคำพูดหรือประโยคที่คุณพูด
ไม่ชี้นิ้วบอกเวลาอยากได้อะไร แต่จะร้องไห้หรือดึงมือคุณไปที่สิ่งนั้น
ปรับตัวต่อสิ่งใหม่ๆ ได้ยาก เช่น ร้องให้เวลาเจอสถานการณ์หรือบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
ชอบทำอะไรซ้ำๆ หากคุณไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เด็กเคยทำ เด็กจะหงุดหงิดอาละวาด
ในเด็กโต
{ไม่ค่อยสบตาเวลาพูดคุยด้วย
{ชอบเก็บตัวหรืออยู่ตามลำพัง
{มักเล่นคนเดี่ยว
{ไม่ค่อยมีเพื่อน
{เข้ากับเพื่อนได้ยาก
{ไม่มีเพื่อนสนิท
{ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
{สานต่อบทสนทนาไม่ค่อยได้
{ใช้ภาษาพูดที่ไม่เหมาะกับกาลเทศะ พูดแบบขวานผ่าซาก
{ไม่เข้าใจคำพูดขำขัน  อุปมาอุปมัย
{ชอบคิดซ้ำซากหรือทำอะไรซ้ำๆ
{ไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
{ปรับตัวยาก


     ข้อสังเกต   อาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้บางอย่างอาจพบได้ในเด็กปกติ แต่ก็จะเป้นอยู่
ชั่วคราวเท่านั้น  ส่วนเด็กออทิสติกจะมีอาการหลายอย่างพร้อมกันและเป็นอยู่นาน

  หากคุณสงสัยว่าลูกจะเป็นออทิสติกหรือไม่  ก็อย่ามัวแต่ตกอกตกใจ
ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
หากลูกไม่ได้เป็นอะไร  คุณก็จะได้สบายใจ  แต่หากลูกเป็น  คุณก็จะได้
ช่วยเหลือลูกตั้งแต่เนิ่นๆ

จะเล่นอะไรดี?
ขอแนะนำการเล่นสนุกกับลูกตามอายุ ดังนี้

เกิดถึง 6 สัปดาห์                อุ้มลูก  มองจ้องหน้าลูก 
อ่านหนังสือนิทานและร้องเพลงให้ฟัง
6 สัปดาห์ถึง 4 เดือน           อุ้มลูกเดินเที่ยวทั้งในบ้านและนอกบ้าน
 ลูกจะได้เห็นภาพหลากหลาย
 แลบลิ้นทำหน้าหลอกเล่น
5-8 เดือน                  เล่นโยนบอลนุ่มๆ เล็กๆ เอาของเล่นให้บีบ ให้สัมผัส  ให้เคาะ      เล่นเลียนเสียงกัน  ทำเสียวตลกๆ ให้ลูกฟัง  คุยกับลูกเยอะๆ
8-14 เดือน                       เล่นจ๊ะเอ๋  เล่นหยิบของใส่ถ้วยหรือใส่ตะกร้า 
เริ่มพาลูกเดินสำรวจภายในบ้าน
14 เดือน-2 ปี                    ลูกเริ่มมีภาษามากขึ้น ดังนั้นจงอ่านหนังสือให้ลูกฟังเยอะๆให้ลูกดูภาพ   พูดชื่อสิ่งที่เห็นในภาพให้ลูกฟัง
เล่นขีดเขียนด้วยดินสอ ดินสอสี 
ล่นเต้นตามจังหวะเพลงกับลูก
2-3 ปี                              ร้องเพลงด้วยกัน  ปั้นดินน้ำมัน  หัดให้ลูกทำอะไรด้วยตนเอง
                                      เล่นสมมุติกับลูก  เอาเสื้อผ้ามาแต่งเป็นตัวตลก

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเล่นสนุกกับลูก ลองนึกดูดีๆ คุณอาจคิดเกมใหม่ๆ มาเล่นสนุกกับ
ลูกได้อีกเยอะทีเดียว

หลักการวินิจฉัยโรคออทิสซึม
DSM-IV-TR =The Diagnostic & Statistical Manual of
Mental Disorders, fourth Edition,

A.            ต้องมีลักษณะทั้งหมด 6 ข้อ (หรือมากกว่า) จากข้อ(1), (2) และ (3) กับอีกอย่างน้อย
2 ข้อ จากข้อ (1) และอย่างละ 1 ข้อ  จากข้อ (2) และ (3):

  J 1. เด็กกลุ่มนี้มีความบกพร่องทางด้านการเข้าสังคม มีอย่างน้อย 2 ข้อ ดังนี้
1.1 เวลานำเด็กเข้าสังคม  เด็กจะไม่มองสบตาผู้อื่น ไม่แสดงออกทางสีหน้าและท่าทางตามปกติ
1.2 ขากการพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการ
1.3 ไม่ให้ความสนใจกับการเข้าร่วมทำกิจกรรมที่สนุกเพลิดเพลินหรือไม่สนใจทำงานให้บรรลุผลสำเร็จร่วมกับผู้อื่น ได้แก่ ขาดการแสดงออก ไม่ไปเอาของหรือชี้วัตถุที่สนใจ
1.4 เด็กไม่รู้จักการตอบแทนและแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่นในสังคม
  J 2. เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องทางการสื่อสารซึ่งมีอย่างน้อย 1 ข้อดังนี้
2.1 การพัฒนาภาษาพูดมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย (ใช้วิธีอื่นสื่อสารแทน เช่น การใช้ท่าทางหรือการแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูด)
2.2 เด็กที่มีภาษาแล้วจะพบว่าไม่สามารถใช้ภาษาพูดสื่อสาร หรือสนทนากับผู้อื่นได้
2.3 ใช้ภาษาแบบซ้ำๆ หรือมีรูปแบบของภาษาที่ผิดแปลกไปจากที่ผู้อื่นใช้
2.4 ขากการปรับเปลี่ยนการเล่นแบบเสแสร้งที่เป็นไปเอง  หรือการเล่นเลียนแบบของสังคมที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการ
  J 3.เด็กจะแสดงรูปแบบของพฤติกรรม  ความสนใจ และกิจกรรมของตนแบบซ้ำๆ ซึ่งจะพบได้อย่างน้อย 1 ข้อ ดังนี้
3.1มีรูปแบบของความสนใจแล

วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554

นิทานสำหรับเด็ก

นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์  ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน

           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดย รู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

 เด็กอายุ 0 - 1 ปี

               นิทานที่เหมาะสมในวัยนี้ ควรเป็นหนังสือภาพที่เป็นภาพเหมือนรูปสัตว์ ผัก ผลไม้ สิ่งของในชีวิตประจำวัน และ เขียนเหมือนภาพของจริง มีสีสวยงาม ขนาดใหญ่ชัดเจน เป็นภาพเดี่ยวๆที่มีชีวิตชีวา ไม่ควรมีภาพหลัง หรือส่วนประกอบภาพที่รกรุงรัง รูปเล่มอาจทำด้วยผ้าหรือพลาสติก หนานุ่มให้เด็กหยิบเล่นได้
                เวลาเด็กดูหนังสือภาพ พ่อแม่ควรชี้ชวนให้ดูด้วยความรัก เด็กจะตอบสนองความรักของพ่อแม่ด้วยการแสดงความพอใจ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กและหนังสือภาพจึงส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ ลูกด้วย

               เด็กอายุ 2 - 3 ปี

              เด็กแต่ละคนจะเริ่มชอบต่างกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อมที่ถูกเลี้ยงดู การเลือกหนังสือนิทานที่เหมาะกับเด็กวัยนี้ ควรเป็นหนังสือนิทาน หรือหนังสือภาพที่เด็กสนใจ ไม่ควรบังคับให้เด็กดูแต่หนังสือที่พ่อแม่ต้องการให้อ่าน หนังสือที่เหมาะสม ควร เป็นภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สัตว์ สิ่งของ    เด็กเล็กในช่วงนี้ มีประสาทสัมผัสทางหูดีมาก หากมีประสบการณ์ด้านภาษา และเสียงที่ดีในวัยนี้ เด็กจะสามารถพัฒนาศักยภาพด้านภาษาและดนตรีได้ดี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2 - 4 ปี เด็กมีความสนใจเสียงและภาษาที่มีจังหวะ เด็กบางคนจำหนังสือที่ชอบได้ทั้งเล่ม จำได้ทุกหน้า ทุกตัวอักษร เหมือนอ่านหนังสือออก เด็กอายุ 3 ปี มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็น เข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา ดังนั้น หากเด็กมีประสบการณ์ที่ดีในช่วงเวลานี้ จะเป็นพื้นฐานในการสร้างนิสัยรักการอ่าน ของเด็กในอนาคต

                                                เด็กอายุ 4 - 5 ปี

                เด็กวัยนี้มีจินตนาการสร้างสรรค์ อยากรู้อยากเห็นสิ่งรอบตัวเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมว่าสิ่งนี้มาจากไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นเช่นนี้ เริ่มเข้าใจความแตกต่างระหว่างความจริงกับเรื่องสมมุติ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กวัยนี้ควรเป็นนิทานที่เป็นเรื่องที่ยาวขึ้น แต่เข้าใจง่าย ส่งเสริมจินตนาการ และอิงความจริงอยู่บ้าง เนื้อเรื่องสนุกสนานน่าติดตาม มีภาพประกอบที่มีสีสรรสดใสสวยงาม มีตัวอักษรบรรยายเนื้อเรื่องไม่มากเกินไป และมีขนาดใหญ่พอสมควรใช้ภาษาง่ายๆ การอ่านนิทานให้เด็กฟัง พร้อมกับชี้ชวนให้เด็กดูภาพ ในหนังสือประกอบ จะเป็นการสร้างจินตนาการ สร้างสรรค์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของพลังเรียนรู้จากการอ่านหนังสือ
                 หากเด็กพบว่าเด็กชอบหนังสือเล่มใดเป็นพิเศษ ก็จะให้พ่อแม่อ่านซ้ำไปมาทุกวันไม่เบื่อ ดังนั้นพ่อแม่ควรอดทนเพื่อลูก เด็กบางคนจำข้อความในหนังสือได้ทุกคำ แม้ว่าจะมีคำบรรยายยาว ได้ทั้งเล่ม ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากต่อพัฒนาการด้านภาษาของเด็ก

  หลักการเลือกนิทานที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย
             • เหมาะสมกับวัย : เด็กในแต่ละวัยจะมีความสนใจฟังเรื่องราวต่างๆ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการรับรู้ และ ประสบการณ์ที่ได้รับ นิทานที่เหมาะสมกับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเป็นหนังสือภาพ สมุดภาพ หนังสือภาพผสมคำ นิทานที่มีบทร้อยกรอง ในขณะที่นิทานที่เหมาะกับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป ควรเป็นนิทานที่มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับธรรมชาติ นิทานเรื่องเล่าที่ให้ข้อคิด
        • ประโยชน์ ที่เด็กจะได้รับ : การเลือกหนังสือต้องคำนึงถึงประโยชน์ที่เด็กจะได้รับ ในการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กด้วย เช่น สอนให้รู้จักคำเรียกชื่อสิ่งของต่างๆ เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกพัฒนาความคิด จินตนาการ ให้ความรู้สึกที่ดีต่อเด็ก มีความตลกขบขันให้ความสนุกสนาน ช่วยแก้ปัญหาให้กับตัวเด็ก เมื่อเปรียบเทียบตนเองกับตัวละคร เป็นต้น การอ่านเรื่องราว หรือเนื้อหาทั้งเล่มก่อนตัดสินใจเลือก จึงเป็นสิ่งสำคัญ             • เนื้อหา และลักษณะรูปเล่ม : นิทานหรือหนังสือที่ดีสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นเรื่องสั้นๆง่ายๆ และไม่ซับซ้อน มีจุดเด่นของเนื่องจุดเดียว เด็กดูภาพหรือฟังเรื่องราวเข้าใจได้ และสนุกสนาน มีเนื้อเรื่องที่ชัดเจน ชวนติดตาม เป็นเรื่องที่เกี่นวกับตัวเด็ก และใกล้ชิดตัวเด็ก หรือธรรมชาติแวดล้อม ไม่มีการบรรยายเนื้อเรื่อง ควรมีลักษณะเป็นบทสนทนาโต้ตอบระหว่างตัวละคร ใ้ช้ภาษาที่ถูกต้อง ง่ายต่อความเข้าใจของเด็ก ตัวอักษรมีขนาดใหญ่ ใช้สีเข้มอ่านได้ชัดเจน มีภาพประกอบที่สอดคล้องกับเนื้อเรื่อง เป็นภาพที่มีสีสันสวยงามมีชีวิตชีวา ส่วนใหย๋จะเป็นภาพเขียนหรือวาดมากกว่าภาพถ่าย มีรูปเล่มที่แข็งแรงทนทาน ขนาดพอเหมาะกับมือเด็ก ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมเสมอไป และมีจำนวนหน้าประมาณ 10-20 หน้า

           วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราวสำหรับเด็ก
     เมื่อ เลือกนิทานหรือเรื่องราวที่เหมาะสมกับวัยของเด็กได้แล้ว วิธีการเล่านิทานหรือเรื่องราว เพื่อให้เด็กเกิดความสนใจ ติดตามฟังเนื้อเรื่องจนจบ จำเป็นต้องทำให้เหมาะสมกับเรื่องที่จเล่าด้วย การเล่านิทานที่นิยมมี 2 วิธี ดังนี้
     1. การเล่าเรื่องปากเปล่า ไม่มีอุปกรณ์ : เป็นการเล่านิทานด้วยการบอกเล่าด้วยน้ำเสียงและลีลาของผู้เล่า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• การขึ้นต้นเรื่องที่จะเล่า ควรดึงดูดความสนใจเด็ก โดยค่อยเริ่มเล่าด้วยเสียงชัดเจน ลีลาของการเล่าช้าๆ และเริ่มเร็วขึ้น จนเป็นการเล่าด้วยจังหวะปกติ
• เสียงที่ใช้ควรดัง และเป็นประโยคสั้นๆได้ใจความ การเล่าดำเนินไปอย่างราบรื่น ไม่ควรเว้นจังหวะการเล่านิทานให้นาน จะทำให้เด็กเบื่อ อีกทั้งไม่ควรมีคำถาม หรือคำพูดอื่นๆที่เป็นการขัดจังหวะ ทำให้เด็กหมดสนุก
• การใช้น้ำเสียง สีหน้า ท่าทาง แสดงให้สอดคล้องกับลักษณะของตัวละคร ไม่ควรพูดเนือยๆ เรื่อยๆ เพราะทำให้ขาดความตื่นเต้น
• อุ้มเด็กวางบนตัก โอบกอดเด็กขณะเล่า หรือถ้าเล่าให้เด็กหลายคนฟัง อาจจะนั่งเก้าอี้ให้เหมาะสมกับสายตาเด็ก
• ใช้เวลาในการเล่าไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะเด็กมีความสนใจในช่วงเวลาสั้น
• ให้โอกาสเด็กซักถาม แสดงความคิดเห็น
    2. การเล่าเรื่องโดยมีอุปกรณ์ช่วย เช่น สิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กเช่น สัตว์ พืช , วัสดุเหลือใช้เช่น กล่องกระดาษ กิ่งไม้,ภาพ เช่นภาพพลิก หรือภาพแผ่นเดียว ,หุ่นจำลอง ทำเป็นละครหุ่นมือ, หน้ากากทำเป็นรูปละคร ,นิ้วมือประกอบการเล่าเรื่อง