วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

พัฒนาการที่ปกติของเด็ก : ขั้นตอนพัฒนาการที่สำคัญ
อายุ                      สิ่งที่เด็กควรได้
4-6 สัปดาห์            ยิ้มให้แม่
3-4 เดือน               หันศีรษะไปตามเสียง  จับหรือถือวัตถุที่คุณวางให้ในมือ
5 เดือน                   คว้าของที่เห็น
6-7 เดือน               เปลี่ยนของจากมือหนึ่งไปอีกมือหนึ่ง  เคี้ยวอาหารได้ นั่งเอา    มือยันไว้ข้างหน้า  เวลานอนคว่ำจะยกศีรษะขึ้นได้เอง 
                              ถือขนมกินเอง
9-10 เดือน             ชี้ด้วยนิ้วชี้  คลาน  เล่นจ๊ะเอ๋  บ๊ายบาย  ให้ความร่วมมือเวลา                   แต่งตัว  เช่น  ชูมือขึ้นเพื่อใส่เสื้อ  ยื่นเท้าให้ใส่รองเท้า
13 เดือน                 เดินได้เอง  พูดคำเดี่ยวๆได้ 2-3 คำ
15 เดือน                 หยิบถ้วยขึ้นมาดื่มน้ำเอง
18 เดือน                 บอกเมื่อจะฉี่
21-24 เดือน           พูดเป็นวลี (2-3 คำติดกัน)
2 ปี                        ไม่ปัสสาวะราดตอนกลางวัน
3 ปี                        ไม่ปัสสาวะราดตอนกลางคืน  แต่งตัวเอง ยืนขาเดียวได้ชั่วครู่

พัฒนาการทางภาษา
อายุ                       สิ่งที่เด็กควรทำได้
2-6 เดือน               เล่นเสียง และส่งเสียงอ้อแอ้กับตนเอง
8-10 เดือน             เล่นเสียงสูงต่ำ  เลียนเสียงพ่อแม่หรือเสียงที่คุ้นเคย  ออกเสียงพยัญชนะ  เช่า ปา-ปา   มา-มา ได้
1-11/2 ปี              พูดคำเดี่ยวที่มีความหมายอื่นๆ นอกจากปาป้า-มาม้า
2 ปี                        พูดคำเดี่ยวประมาณ 20-50 คำ  พูดวลีหรือประโยคสั้นๆ 2-3 คำ
3 ปี                        พูดเป็นประโยคยาวๆ ได้

เมื่อไรจึงจะสงสัยว่าลูกเป็นออทิสติก?
คำแนะนำของสมาคมแพทย์ทางประสาทวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา
American Academy of Neurology และ Child Neurology Society

     หากเด็กมีลักษณะต่อไปนี้ควรพบแพทย์ทันที
1. ไม่มีการเล่นเสียง ชี้หรือใช้ท่าทางบอกความต้องการของตน เมื่ออายุ 12 เดือน
2. ไม่มีคำพูดที่มีความหมายเลย เมื่ออายุ 16 เดือน
3. ไม่มีวลี ( คำพูดติดกัน 2 คำขึ้นไป เช่น ไปเที่ยว ) เมื่ออายุ 24 เดือน
4. เด็กถดถอย/สูญเสียความสามารถทางภาษาหรือสังคมเมื่ออายุใดๆ ก็ตาม
     หากลูกมีพฤติกรรมต่อไปนี้คุณควรสงสัยว่าลูกอาจเป็นออทิสติก
ในเด็กเล็ก
ไม่ตอบสนองต่อคุณ เช่น เรียกชื่อแล้วไม่หัน ไม่สนใจฟังเวลาคุณพูดด้วย
ไม่มองหน้า ไม่สบตาเวลาคนพูดด้วย หรืออาจมองหน้าสบตาน้อยมาก
ชอบเล่นกับสิ่งของ  สนใจสิ่งของมากกว่าคน
ไม่เข้ามาหาเพื่อให้คุณกอด ไม่เข้ามาคลุกคลีกับคุณ
ชอบเล่นคนเดี่ยว ไม่ทำอะไรร่วมกับคนอื่น เช่น เล่นหรือฟังนิทานร่วมกับเด็กอื่น
เฉยเมย ไม่ค่อยแสดงอารมณ์
ทำตาลอยหรือมองอย่างไร้จุดหมาย
ไม่ยิ้มให้คุณ
ไม่รู้จักปลอบ เช่น ไม่ปลอบเวลาคุณหรือเด็กอื่นร้องไห้หรือเจ็บ
ไม่เข้ามาขอความช่วยเหลือจากคุณเมื่อมีปัญหาหรือไม่มาให้คุณปลอบ
เวลาไปศูนย์การค้าจะวิ่งไปดูสิ่งของโดยไม่สนใจคุณ
ไม่รู้จักหน้าที่ของสิ่งของ เช่น เอาของเล่นมาดมแทนที่จะเล่นเหมือนเด็กทั่วไป
ไม่เล่นสมมุติ เช่น เล่นขายของ เล่นป้อนข้าวตุ๊กตา หรือทำท่าทางเลียนแบบคุณ
พูดช้าหรือไม่พูดเลย
มีภาษาแปลกๆ ที่คุณฟังไม่เข้าใจ
ชอบพูดทวนคำพูดหรือประโยคที่คุณพูด
ไม่ชี้นิ้วบอกเวลาอยากได้อะไร แต่จะร้องไห้หรือดึงมือคุณไปที่สิ่งนั้น
ปรับตัวต่อสิ่งใหม่ๆ ได้ยาก เช่น ร้องให้เวลาเจอสถานการณ์หรือบุคคลที่ไม่คุ้นเคย
ชอบทำอะไรซ้ำๆ หากคุณไปเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เด็กเคยทำ เด็กจะหงุดหงิดอาละวาด
ในเด็กโต
{ไม่ค่อยสบตาเวลาพูดคุยด้วย
{ชอบเก็บตัวหรืออยู่ตามลำพัง
{มักเล่นคนเดี่ยว
{ไม่ค่อยมีเพื่อน
{เข้ากับเพื่อนได้ยาก
{ไม่มีเพื่อนสนิท
{ไม่ค่อยเข้าใจความรู้สึกของคนอื่น
{สานต่อบทสนทนาไม่ค่อยได้
{ใช้ภาษาพูดที่ไม่เหมาะกับกาลเทศะ พูดแบบขวานผ่าซาก
{ไม่เข้าใจคำพูดขำขัน  อุปมาอุปมัย
{ชอบคิดซ้ำซากหรือทำอะไรซ้ำๆ
{ไม่ค่อยรู้จักกาลเทศะ ทำอะไรที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
{ปรับตัวยาก


     ข้อสังเกต   อาการที่กล่าวมาข้างต้นนี้บางอย่างอาจพบได้ในเด็กปกติ แต่ก็จะเป้นอยู่
ชั่วคราวเท่านั้น  ส่วนเด็กออทิสติกจะมีอาการหลายอย่างพร้อมกันและเป็นอยู่นาน

  หากคุณสงสัยว่าลูกจะเป็นออทิสติกหรือไม่  ก็อย่ามัวแต่ตกอกตกใจ
ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ  เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง
หากลูกไม่ได้เป็นอะไร  คุณก็จะได้สบายใจ  แต่หากลูกเป็น  คุณก็จะได้
ช่วยเหลือลูกตั้งแต่เนิ่นๆ

จะเล่นอะไรดี?
ขอแนะนำการเล่นสนุกกับลูกตามอายุ ดังนี้

เกิดถึง 6 สัปดาห์                อุ้มลูก  มองจ้องหน้าลูก 
อ่านหนังสือนิทานและร้องเพลงให้ฟัง
6 สัปดาห์ถึง 4 เดือน           อุ้มลูกเดินเที่ยวทั้งในบ้านและนอกบ้าน
 ลูกจะได้เห็นภาพหลากหลาย
 แลบลิ้นทำหน้าหลอกเล่น
5-8 เดือน                  เล่นโยนบอลนุ่มๆ เล็กๆ เอาของเล่นให้บีบ ให้สัมผัส  ให้เคาะ      เล่นเลียนเสียงกัน  ทำเสียวตลกๆ ให้ลูกฟัง  คุยกับลูกเยอะๆ
8-14 เดือน                       เล่นจ๊ะเอ๋  เล่นหยิบของใส่ถ้วยหรือใส่ตะกร้า 
เริ่มพาลูกเดินสำรวจภายในบ้าน
14 เดือน-2 ปี                    ลูกเริ่มมีภาษามากขึ้น ดังนั้นจงอ่านหนังสือให้ลูกฟังเยอะๆให้ลูกดูภาพ   พูดชื่อสิ่งที่เห็นในภาพให้ลูกฟัง
เล่นขีดเขียนด้วยดินสอ ดินสอสี 
ล่นเต้นตามจังหวะเพลงกับลูก
2-3 ปี                              ร้องเพลงด้วยกัน  ปั้นดินน้ำมัน  หัดให้ลูกทำอะไรด้วยตนเอง
                                      เล่นสมมุติกับลูก  เอาเสื้อผ้ามาแต่งเป็นตัวตลก

นี่เป็นเพียงตัวอย่างการเล่นสนุกกับลูก ลองนึกดูดีๆ คุณอาจคิดเกมใหม่ๆ มาเล่นสนุกกับ
ลูกได้อีกเยอะทีเดียว

หลักการวินิจฉัยโรคออทิสซึม
DSM-IV-TR =The Diagnostic & Statistical Manual of
Mental Disorders, fourth Edition,

A.            ต้องมีลักษณะทั้งหมด 6 ข้อ (หรือมากกว่า) จากข้อ(1), (2) และ (3) กับอีกอย่างน้อย
2 ข้อ จากข้อ (1) และอย่างละ 1 ข้อ  จากข้อ (2) และ (3):

  J 1. เด็กกลุ่มนี้มีความบกพร่องทางด้านการเข้าสังคม มีอย่างน้อย 2 ข้อ ดังนี้
1.1 เวลานำเด็กเข้าสังคม  เด็กจะไม่มองสบตาผู้อื่น ไม่แสดงออกทางสีหน้าและท่าทางตามปกติ
1.2 ขากการพัฒนาความสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการ
1.3 ไม่ให้ความสนใจกับการเข้าร่วมทำกิจกรรมที่สนุกเพลิดเพลินหรือไม่สนใจทำงานให้บรรลุผลสำเร็จร่วมกับผู้อื่น ได้แก่ ขาดการแสดงออก ไม่ไปเอาของหรือชี้วัตถุที่สนใจ
1.4 เด็กไม่รู้จักการตอบแทนและแสดงความรู้สึกร่วมกับผู้อื่นในสังคม
  J 2. เด็กกลุ่มนี้จะมีความบกพร่องทางการสื่อสารซึ่งมีอย่างน้อย 1 ข้อดังนี้
2.1 การพัฒนาภาษาพูดมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย (ใช้วิธีอื่นสื่อสารแทน เช่น การใช้ท่าทางหรือการแสดงออกโดยไม่ใช้คำพูด)
2.2 เด็กที่มีภาษาแล้วจะพบว่าไม่สามารถใช้ภาษาพูดสื่อสาร หรือสนทนากับผู้อื่นได้
2.3 ใช้ภาษาแบบซ้ำๆ หรือมีรูปแบบของภาษาที่ผิดแปลกไปจากที่ผู้อื่นใช้
2.4 ขากการปรับเปลี่ยนการเล่นแบบเสแสร้งที่เป็นไปเอง  หรือการเล่นเลียนแบบของสังคมที่เหมาะสมตามระดับพัฒนาการ
  J 3.เด็กจะแสดงรูปแบบของพฤติกรรม  ความสนใจ และกิจกรรมของตนแบบซ้ำๆ ซึ่งจะพบได้อย่างน้อย 1 ข้อ ดังนี้
3.1มีรูปแบบของความสนใจแล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น