วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อปรับใช้

พัฒนาการ หมายถึง
กระบวนการเปลี่ยนแปลงด้านวุฒิภาวะ ( maturity) ของอวัยวะระบบต่างๆ
และตัวบุคคล ทำให้เพิ่ม ความสามารถของระบบและบุคคลให้ทำหน้าที่ต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้
ตลอดจนการเพิ่ม ทักษะใหม่และความสามารถในการปรับตัวในภาวะใหม่ของบุคคลนั้น

     พัฒนาการของเด็ก จะแบ่งออกเป็น 6 ด้านดังนี้
          • พัฒนาการด้านร่างกาย
          • พัฒนาการด้านการรับรู้
          • พัฒนาการด้านสติปัญญา
          • พัฒนาการด้านภาษา
          • พัฒนาการด้านอารมณ์
          • พัฒนาการด้านสังคม

   พฤติกรรมและทักษะชีวิตของมนุษย์ได้จากการเรียนรู้และการสะสมประสบการณ์
การเรียนรู้ทักษะบางอย่างจะง่ายและ
ประสบความสำเร็จในช่วงเวลาหนึ่งมากกว่าอีกเวลาหนึ่งและสังคมจะคาดหวังให้เด็กแต่ละคนทำพฤติกรรมที่เหมาะสมให้ได้
ในแต่ละช่วงอายุของบุคคล พัฒนาการที่สำคัญในแต่ละวัย
          วัยทารก ( 0-2 ปี) อายุ 0-6 สัปดาห์ เด็กมองหน้าแม่ ทำเสียงในลำคอ ฟังเสียงคุยแล้วยิ้มตอบ
          อายุ 4-6 เดือน จำหน้าแม่ได้ ส่งเสียงอ้อแอ้และยิ้มตามเสียง เด็กสามารถเอื้อมคว้าจับสิ่งของมาเข้าปาก

        อายุ 6-9 เดือน สามารถแยกเสียงของแม่ได้
เริ่มแยกแยะความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ชัดเจน เด็กจำหน้าแม่ได้
เด็กจะแสดงอาการแปลกหน้ากับผู้ที่ไม่ คุ้นเคย และจะติดแม่ เรียกว่า
กลัวคนแปลกหน้า (Stranger anxiety)
          อายุ 9-12 เดือน
เด็กมีความผูกพันใกล้ชิดกับผู้เลี้ยงดู (Attachment) และจะติดผู้เลี้ยงดู
เมื่อต้องแยกจากพ่อแม่/ผู้เลี้ยงดู เด็กจะร้องไห้และร้องตาม
เมื่อพ่อแม่ผู้เลี้ยงดูกลับมา
เด็กจะแสดงความดีใจโผเข้าหาและเข้ามาคลอเคลีย
เด็กวัยนี้จะเริ่มกลัวการพลัดพราก (Separation anxiety)
       
อายุ 12-18 เดือน เด็กหัดเดินและชอบสำรวจ
ระยะนี้เด็กจะกระตือรือร้นที่จะสำรวจสิ่งแวดล้อมค้นหาสิ่งแปลกใหม่เด็กมัก
จะใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสำรวจตรวจตรา
ดังนั้นควรระมัดระวังสิ่งที่เป็นอันตราย - ในวัยนี้เด็กจะทดสอบสิ่งต่างๆ
และดูผลของการกระทำต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพอใจเด็กจะโยนของเล่น
ว่าจะตกลงมาอย่างไร ถ้าพอใจเด็กจะโยนซ้ำ
ถ้าไม่พอใจเด็กจะหยุดหรือหาวิธีอื่นๆ
บางครั้งเด็กจะกรีดร้องจะเอาของมาโยนอีก - เด็กเริ่มพูดได้
เป็นคำๆอย่างน้อย 10 คำ
          อายุ 18-24 เดือน - เด็กเรียนรู้ภาษาอย่างรวดเร็ว และจดจำคำศัพท์ได้ดี

        อายุ 2-3 ปี - เด็กเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น -
เด็กรู้ว่าตนเองเป็นบุคคลหนึ่งที่แยกจากสภาพแวดล้อม
ทำให้เด็กต้องการเป็นตัวของตัวเอง เด็กจะ พยายาม ทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
เช่น จับช้อนตักอาหารเอง เด็กจึงมีพฤติกรรมต่อต้าน ( Negativism)
ชอบพูดว่า “ ไม่ ” “ ไม่เอา ” “ ไม่ทำ ” เป็นต้น
          อายุ 3-5
ปี พัฒนาการด้านร่างกาย เด็กบังคับกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น
เด็กชอบปีนป่ายเตะบอล รักลูกบอล ชอบเล่นในสนาม เด็กสามารถขี่
จักรยานสามล้อได้ พัฒนาการด้านสติปัญญา -
เด็กเชื่อว่าสิ่งของทุกอย่างมีชีวิติ (Animism)
เด็กชอบเล่นสมมุติโดยจะเอาตุ๊กตาตามมาเล่นแล้วสมมุติ เป็นพ่อแม่ลูก
แสดงท่าป้อนข้าวลูก อาบน้ำแต่งตัวให้ลูก
แสดงเป็นเรื่องราวเหมือนว่าตุ๊กตาเป็นสิ่งมีชีวิต -
เด็กเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดหมาย เด็กมักถามว่า “ ทำไม ” “
ทำไมรถจึงวิ่ง ” ฯลฯ - เด็กจะเชื่อมโยงปรากฎการณ์ 2
อย่างที่เกิดขึ้นพร้อมกันว่าเป็นเหตุและเป็นผลซึ่งกันและกัน
พัฒนาการด้านภาษา พัฒนาอย่างรวดเร็ว เด็กชอบใช้คำถาม “ นั่นอะไร ” “
นี่อะไร ” “ พ่อไปไหน ” เด็กสามารถเข้าใจ คำสั่งง่ายๆได้
       
เด็กอายุ 4 ขวบชอบใช้คำถาม “ ทำไม ” พัฒนาการด้านอารมณ์
เด็กเริ่มมีลักษณะอารมณ์แบบผู้ใหญ่ คือ โกรธ อิจฉา กังวล ก้าวร้าว พอใจ
เป็นต้น เด็กจะแสดงความโกรธ ด้วยการกรีดร้อง ดิ้นกับพื้น
หรือทำร้ายตัวเองแสดงความอิจฉาเมื่อมีน้องใหม่เวลาเล่นสนุกๆก็จะแสดง
ความพอใจ แต่เมื่อได้ยินเสียงฟ้าร้องเด็กก็จะกลัว พัฒนาการด้านสังคม -
เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น อาบน้ำ แต่งตัว ใส่รองเท้าเอง
บอกเวลาจะถ่ายได้ ถอดกางเกง เข้าห้องน้ำเอง และทำความสะอาดหลังขับถ่ายได้
- เด็กเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตัว เพื่อให้สังคมยอมรับ ทำตัวให้เข้ากลุ่มได้
รู้จักให้ รับ รู้จักผ่อนปรน รู้จักแบ่งปัน เด็กเรียนรู้จากคำสอน
คำอธิบายและการกระทำของพ่อแม่ เด็กรู้สึกละอายใจเมื่อทำผิด
เด็กเริ่มรู้จักเห็นใจ ผู้อื่น เมื่อเห็นแม่เสียใจเด็กอาจเอาตุ๊กตามาปลอบ
เป็นต้น พ่อแม่ควรฝึกหัดและส่งเสริมให้เด็กวัยอนุบาลได้ช่วยเหลือตนเอง
เช่น รับประทานอาหาร อาบน้ำ แต่งตัว การขับถ่าย เป็นต้น
       
เด็กอายุ 1-5 ปี อาจติดสิ่งของบางอย่าง เช่น ผ้าห่ม ตุ๊กตา
เด็กจะนำสิ่งของเหล่านี้ติดตัวไปด้วยทุกแห่ง หรือเข้านอน ด้วยการนำมาอุ้ม
กอด และถือไว้ ใช้สำหรับปลอบใจ ทำให้รู้นึกมั่นใจและสบายใจ
โดยเฉพาะเวลาที่ต้องห่างจากแม่ เวลาไม่สบายหรือ เวลาเข้านอน
เพื่อทดแทนความสัมพันธ์ที่ห่างเหิน
และเด็กก็เริ่มไปมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น สิ่งของเหล่านี้เรียกว่า
Trasitional – object
 
 การเลี้ยงดูที่เหมาะสมจะทำให้เด็กพัฒนาไปได้ดี ในขณะเดียวกัน
สังคมก็จะคาดหวังเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กในแต่ละวัย ซึ่ง เราเรียกว่า
งานพัฒนาการ (Deelopmental task)
ถ้าเด็กสามารถทำได้ตามขั้นตอนพัฒนาการเด็กจะยอมรับนับถือตนเอง ได้รับ
การยอมรับจากผู้อื่นและเด็กก็จะมีความสุขตามมา เมื่อเด็กมีความสุข
เด็กจะมีกำลังใจ มีแรงจูงใจในการทำงานตามที่มุ่งหวัง และ
สามารถทนต่อความขัดแย้งได้ดี ทำให้ประสบความสำเร็จตามมา
ถ้าเด็กไม่สามารถทำได้ตามขึ้นตอนพัฒนาการ เด็กจะรู้สึกเป็นปมด้อย
และจะทำงานในขั้นตอนพัฒนาการที่สูงขึ้นได้ยาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น